กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ม.1-6 ตำบลท่าหิน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ท่าหิน

1.นางวันนา ชอบแต่ง
2.นางพัชรี ฉายมณี
3.นางวรรณี วงศ์ถาวร
4.นางพัชรี เกตุแก้ว
5.นางศรีสุดา มากชูชิต
6.นายอดิศร พรหมจินดา

หมู่ที่ 1-6 ตำบลท่าหิน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

43.22
2 ร้อยละของหมู่บ้านที่สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้

 

66.67

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จากข้อมูล ทางระบาดวิทยา หมู่ที่ 1-6 ตำบลท่าหิน ในปี 2563-2567 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1,0,2.9 และ 6 ราย ในปี 2568 (1มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) พบผู้ป่วย 1 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถ้าหากไม่มีการควบคุม ป้องกันหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ประกอบกับสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ยุงลายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างจริงจัง จากทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวชมรม อสม.รพ.สต.ท่าหิน จึงจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหิน

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5ปี ย้อนหลัง (พ.ศ.2563-พ.ศ.2567) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

25.00 1.00
2 ร้อยละของหมู่บ้านที่สามารถควบคุมโรคได้

หมู่บ้านชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

90.00 1.00
3 หมู่บ้าน โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข วัด มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ตามเกณฑ์ที่กำหนด

1.ครัวเรือน ค่า HI 

100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือน หมู่ที่ 1-6 ต.ท่าหิน 782
ประชากร ม.1-6 ต.ท่าหิน 2,361

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และทำความสะอาดในชุมชน (Big Cleaning) สถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน,วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง มีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าทรายทีมีฟอสจำนวน 6 ถังๆละ 4,500 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท 2. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก ขนาด 1.2x 2.4 เมตร จำนวน 7 ป้าย ๆ ละ 432 บาท เป็นเงิน 3,024 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30024.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ร่วมกับเจ้าของบ้านสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายสัปดาห์ละครั้ง และ อสม.ส่งรายงานผลการสำรวจลูกน้ำ-ไม่มีค่าใช้จ่าย-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกหมู่บ้าน สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสัปดาห์ละครั้ง พร้อมส่งรายงานผ่านแอปสมาร์ท อสม. ทุกสัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,024.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี (2563-2567)
2. หมู่บ้านชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้
3. รพ.ส.ต. โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีค่า CI เท่ากับ 0


>