กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ผู้สูงวัย ปลอดภัย ปลอดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแว้ง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแว้ง

1. นายหะมะ หัฎฐเสรี
2. นายสุเทพสมัยวิทยาวงศ์
3. นายวิฑูรชาจิตะ
4. นายแวยูโซ๊ะ แวมะ
5. นายอับดุลฮาดีดือเลาะ

เทศบาลตำบลแว้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัยสูงอายุ (๖๐ ปีขึ้นไป) เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของร่างกาย ทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายลดลง จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มอาการที่เป็นปัญหาเฉพาะหรือพบบ่อยในผู้สูงอายุ (Geriatric Giants) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการชราภาพของร่างกาย ผลข้างเคียงจากยาต่างๆ และหลากหลายโรคที่มารมเร้า ส่งผลต่อสุขภาพและการดูแลตนเองที่ถดถอยลง๘ กลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ไว้ดังนี้ ๑) ความผิดปกติในการรับประทานอาหาร เป็นอาการที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพฟัน ภาวะกลืนลำบาก ความอยากอาหารลดลง ๒) ปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่ทำให้คุณภาพการนอนลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย หรืออาจมีสาเหตุจากภาวะซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล อาการปวดต่างๆ หรือกรดไหลย้อน ๓) ภาวะสมองเสื่อม หากมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม ๔) ภาวะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนหรืออ่อนล้า กระเพาะปัสสาวะอ่อนไหวเกินไป ความบกพร่องในการควบคุมการกลั้นการขับถ่ายจากสมองหรือเส้นประสาท เป็นต้น ๕) ปัญหาในการทรงตัวและการหกล้ม มีปัญหาจากหลายปัจจัย เช่น ข้อเสื่อม กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง โรคทางสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน หรือเส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น ๖) อาการมีนงงเวียนศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตต่ำ ความผิดปกติของหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว (น้ำในหูไม่สมดุล) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โลหิตจาง เป็นต้น ๗) ปัญหาการมองเห็นและการได้ยิน อาจเป็นผลมาจากโรคเบาหวาน ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ๘) ภาวะกระดูกพรุน เกิดจากการบางลงของเนื้อกระดูก ทำให้เปราะบาง หักหรือยุบง่ายซึ่งผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแว้งปัจจุบันมีจำนวน หากไม่ได้รับการดูแลหรือการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องจะมีผลทำให้มีอาการเพิ่มมากขึ้นและเป็นผลให้เกิดโรคที่ไม่พึงประสงค์ตามมาก็ได้
ดังนั้นศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแว้ง จึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่างจึงจัดให้มีโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในอาการที่แสดงทั้ง 8 อาการ สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ตลอดจนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลให้แก่บุคคลอื่นในชุมชนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่พบอาการผิดปกติเพื่อไปรับการรักษาต่อได้อย่างถูกต้อง

ผู้สูงอายุสามารถประเมินตนเองเพื่อรักษาต่อได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 90

50.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

ผู้สูงอายุดูแลตัวเองได้ถูกต้องตามหลักสาธารณสุขและสามารถบอกต่อร้อยละ 80

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/05/2025

กำหนดเสร็จ 06/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ผู้สูงวัย ปลอดภัย ปลอดโรค

ชื่อกิจกรรม
ผู้สูงวัย ปลอดภัย ปลอดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. -เรียนรู้วิธีการและประโยชน์ของการทำวารีบำบัด(การแช่เท้าสมุนไพร)เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ
  2. -สมุนไพรบำบัด(การพอกเข่าสมุนไพร)เพื่อดูดพิษลดอาการปวดข้อเข่าเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุ
    3.การออกกำลังกายให้ถูกวิธีเพื่อสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ 4.การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในผู้สูงอายุ/การช่วยฟื้นคืนชีพในผู้สูงและคนในครอบครัว/สัญญาณเตือนกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรังในผู้สูงอายุ/และวิธีการใช้บริการ 1669 สำหรับผู้สูงอายุ
    5.การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ 6.การประเมิน SPPB ในกลุ่มผู้สูงอายุ 7.การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ 8.กิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ


    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บX 50 คน X8ครั้ง =10,000 บ. ค่าอาหารกลางวัน
    50 บ.X 50 คน X 8 ครั้ง =20,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 พฤษภาคม 2568 ถึง 6 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกลุ่มอาการที่ถูกต้องสามารถเฝ้าระวังและป้องกันโรคผู้สูงอายุได้
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ
  3. สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
  4. สังคมเกิดความตระหนักในการใส่ใจดูแลผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกลุ่มอาการที่ถูกต้องสามารถเฝ้าระวังและป้องกันโรคผู้สูงอายุได้
2. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ
3. สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
4. สังคมเกิดความตระหนักในการใส่ใจดูแลผู้สูงอายุ


>