กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์และการฝึกปฏิบัติการป้องกันเด็กจมน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบต.บานา

สระว่ายน้ำโรงเรียนแหลมทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มีหนังสือแจ้งซักซ้อมการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมถึงเรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย นั้น เนื่องจากรายงานทางวิชาการ พบว่า
กลุ่มเด็กเล็ก อายุต่ำกว่าอายุ 5 ปี ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ มักเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสม เช่น การไม่มีรั้วกั้นบริเวณโรงเรียน และมีแหล่งน้ำล้อมรอบ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น ทุ่งนาและแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณใกล้ๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเด็กที่เข้ารับการศึกษาอยู่ในตอนนี้เป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-5 ปี เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัสจึงเสี่ยงต่อการจมน้ำได้ เพื่อแบ่งแยกเด็กออกจากแหล่งน้ำ และจัดให้มีพื้นที่เล่นที่เหมาะสม ทั้งนี้ครู และผู้ปกครอง ยังไม่มีความรู้ในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำโดยวิธีเบื้องต้นที่สามารถจะช่วยได้ และวิธีกู้ชีพ/การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกวิธี เป็นต้น และจากสถิติในประเทศไทยเด็กในอายุดังกล่าวจะเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 1,400 คน หมายถึงวันละเกือบ 4 คน ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตทุกสาเหตุ สำหรับช่วงเวลาที่เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุดจะเป็นเดือนเมษายน โดยมีสถิติสูงถึง 182 คน รองลงมาจะเป็นเดือนมีนาคม 148 คน และเดือนพฤษภาคม 141 คน เด็กที่มีกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดอยู่ระหว่างอายุ 1-9 ปี จากมูลเหตุดังกล่าว หากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก จำเป็นจะต้องให้ความรู้เบื้องต้นและนำมาใช้กับเด็กได้เมื่อเจอสถานการณ์และสามารถช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกวิธี และได้สอนให้เด็กเอาตัวรอดเพื่อมีความปลอดภัยเมื่อเจอแหล่งน้ำ ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งซักซ้อมแนวทางการป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย และให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบรรจุเรื่องการป้องกันตน ให้ปลอดภัยจากการจมน้ำไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก และกำชับให้ครู/ผู้ดูแลเด็กจัดการสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ปลอดภัย โดยกำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" และการตะโกนขอความช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีความรู้ สามารถช่วยเหลือตนเอง หรือพบเห็นอุบัติเหตุคนจมน้ำแล้วสามารถให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันท่วงที ซึ่งจะช่วยเหลือผู้เล่นน้ำหรือรอดชีวิตจากจากการจมน้ำได้ดังนั้น ฝ่ายบริหารการศึกษา กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบานา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการจมน้ำและการช่วยเหลือชีวิตจากการจมน้ำ ในเด็กปฐมวัย 3 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 4 แห่งและเป็นการป้องกันก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และการฝึกปฏิบัติการป้องกันเด็กจมน้ำ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กกลุ่มเสี่ยง อายุ 3 ปี มีความรู้ทักษะใน ลอยตัวในน้ำและส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวร่างกายจากการเล่นน้ำ

ร้อยละ 100 ของเด็กที่เข้าร่วมมีทักษะในการลอยตัวในน้ำ

0.00
2 เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก/บุคลากรทางการศึกษา/ ผู้ปกครอง มีความรู้ในการช่วยเหลือชีวิตจากจมน้ำตาม หลักการช่วยเหลือสากล

ครู/ผู้ดูแลเด็ก/บุคลากรทางการศึกษา/ผู้ปกครอง สามารถช่วยเหลือ ผู้จมน้ำได้

0.00
3 เพื่อป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย อายุ 3 ปี

สร้างทักษะให้กับเด็กอายุ 3 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบานา ให้มีความรู้ในการช่วยเหลือตัวเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการจมน้ำได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 19
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/07/2025

กำหนดเสร็จ 24/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการลอยตัวและการขอความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการลอยตัวและการขอความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดเลือกเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ศูนย์ ๆ ละ 15 คน

2.อบรมทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและการใช้อุปกรณ์ต่างๆ

3.อบรมให้ความรู้ หลักอย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม เทคนิคช่วยคนตกน้ำ

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้ายขนาด 1.2 x 2.4 เมตร X 250 บาท เป็นเงิน 720 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 79 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,530 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันเด็ก 40 บาท x 60 คน เป็นเงิน 2,400 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันครูและเจ้าหน้าที่ 60 บาท x 19 คน เป็นเงิน 1,140 บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท x 2 คน x 6 ชม. เป็นเงิน 7,200 บาท

  • ค่าเช่าสระว่ายน้ำ 1 วันเป็นเงิน 4,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กรกฎาคม 2568 ถึง 24 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21090.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,090.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เหมาะสมตามวัย
2.เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน
3.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการดูแลบุตรหลานพร้อมเป็นเด็กดี สุขภาพดี


>