กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชะลอชรา ชีวายืนยาว รพ.สต.บ้านเกาะทองสม ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเกาะทองสม

-

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเกาะทองสม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญ คือ การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เนื่องจากอัตราการเกิดและและอัตราการตายของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชากรไทยมีอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น ในปีพ.ศ. 2567 ประเทศไทยมีประชากรรวมโดยประมาณ 65.97 ล้านคน มีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 13.30 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20.16 ของประชากรทั้งหมด และจากการคาดการณ์ประชากรของประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แนวโน้มประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมดในปี 2576 และในปี 2583 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 32.10 (1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด) นอกจากนี้อัตราส่วนการพึ่งพิงของประชากร ในปี พ.ศ. 2566 พบว่า ถ้าประชากรวัยทำงาน 100 คน จะต้องรับภาระประชากรสูงอายุและวัยเด็ก 55 คน และคาดว่าเพิ่มเป็น 64 คน ในปี พ.ศ. 2570
จากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน ปี 2567 พบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 564 คน พบว่า มีความเสี่ยงด้านใดด้านหนึ่ง จำนวน 347 คน คิดเป็นร้อยละ 61.52 เมื่อแยกเป็นด้านต่างๆ พบว่า มีความเสี่ยงด้านสุขภาพช่องปาก จำนวน 241 คน คิดเป็น ร้อยละ 42.73ด้านการมองเห็น มีความเสี่ยง จำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 37.41 ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย มีความเสี่ยง จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 21.63 ด้านการขาดสารอาหาร มีความเสี่ยง จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 18.44 ด้านการได้ยิน มีความเสี่ยง จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 15.78ด้านความคิดความจำ มีความเสี่ยงจำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 15.60 ด้านการกลั้นปัสสาวะ มีความเสี่ยงจำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 14.36 โดยผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ต้องมีการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และส่งเสริมการปรับพฤติกรรม ด้วยการสร้างแผนส่งเสริมสุขภาพดี (wellness plan)
ทาง รพ.สต.บ้านเกาะทองสม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชะลอชรา ชีวายืนยาว รพ.สต.บ้านเกาะทองสม ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินสุขภาพผู้สูงอายุทั้ง 9 ด้าน และผู้สูงอายุทราบความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเอง

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ ได้รับการประเมินสุขภาพ และทราบความเสี่ยงของตนเอง

80.00 90.00
2 เพื่อสร้างความรอบรุ้ด้านสุขภาพ (Health literacy) แก่ผู้สูงอายุ

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ

0.00 80.00
3 เพื่อสร้างแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) ให้แก่ผู้สูงอายุ

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan)

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 665
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 19/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุ 9 ด้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ จำนวน 600 คน ได้รับการคัดกรอง 9 ด้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงด้านต่างๆแก่ผู้สูงอายุ และจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (wellness plan)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงด้านต่างๆแก่ผู้สูงอายุ และจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (wellness plan)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และจัดทำแผนแผนส่งเสริมสุขภาพดีแก่ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในด้านต่างๆ โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 1 วัน (ม.1-10-15 และ ม.2-8-9) จำนวน 100 คน
ค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าป้ายโฟมบอร์ดความรู้ ขนาด 1.5 x 1 เมตร จำนวน 6 ผืนๆ ละ 750 บาท รวมเป็นเงิน 4,500 บาท
2. ค่าป้ายโฟมบอร์ดความรู้ ขนาด 1 x 1 เมตร จำนวน 6 ผืนๆ ละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.4 x 1.2 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 450 บาท
4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ กลุ่มเสี่ยง จำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
5.ค่าอาหารกลางวันในการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ กลุ่มเสี่ยง จำนวน 100 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
6.ค่าเอกสารความรู้และวัสดุในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการฯ กลุ่มเสี่ยง จำนวน 100 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
7.ค่าวิทยากร จำนวน 10 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2568 ถึง 11 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน ได้รับการอบรมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงด้านต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23950.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลการปฎิบัติตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี (wellness plan)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการปฎิบัติตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี (wellness plan)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมติดตามประเมินการปฏิบัติตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี (wellness plan) ผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ ครึ่งวัน (ม.1-10-15 และ ม.2-8-9) โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 10 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมติดตามประเมินผล 1 ครั้ง โดยมีผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการประชุม 100 คน ผู้สูงอายุ ได้รับการประเมินสุขภาพ 9 ด้าน ครั้งที่ 2

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,450.00 บาท

หมายเหตุ :
**ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพ ทั้ง 9 ด้าน และทราบความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเอง และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น อันจพสามารถนำไปส่งเสริมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น


>