กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย รำมโนราห์และร้อยลูกปัดมโนราห์ โรงเรียนบ้านยางขาคีม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

โรงเรียนบ้านยางขาคีม

โรงเรียนบ้านยางขาคีม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

70.00
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงผ่านกิจกรรมทางกาย ได้แก่ การรำมโนราห์และร้อยลูกปัดมโนราห์

ร้อยละ 85 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมรำมโนราห์และร้อยลูกปัดมโนราห์ได้อย่างสม่ำเสมอ

60.00 85.00
2 เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่าและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคใต้

นักเรียนร้อยละ 90 สามารถอธิบายความสำคัญของมโนราห์และการร้อยลูกปัดมโนราห์ได้

70.00 90.00
3 เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สมาธิ และการทำงานเป็นทีมผ่านกิจกรรมการรำและการร้อยลูกปัด

นักเรียนร้อยละ 90 สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นทีมในการฝึกซ้อมและจัดแสดงกิจกรรมได้อย่างราบรื่น

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รำมโนราห์

ชื่อกิจกรรม
รำมโนราห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เตรียมการและประชาสัมพันธ์โครงการ 2.จัดประชุมคณะครูเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน 3.คัดเลือกนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 4.จัดเตรียมสถานที่ฝึกซ้อม เช่น ห้องประชุมหรือโรงยิม 5.ฝึกท่ารำครูผู้เชี่ยวชาญด้านการรำมโนราห์ 6.สัปดาห์ที่ 1-2: แนะนำความเป็นมาของมโนราห์ ฝึกท่าพื้นฐาน 12 ท่า 7.สัปดาห์ที่ 3-4: ฝึกการเคลื่อนไหวเชื่อมโยงพร้อมฝึกจังหวะดนตรี 8.สัปดาห์ที่ 5-6: ฝึกซ้อมท่ารำอย่างต่อเนื่อง และปรับท่าทางให้ถูกต้อง 9.สัปดาห์ที่ 7-8: ซ้อมการแสดงแบบเต็มรูปแบบ
10.ทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียน 11.สังเกตพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและทักษะรำของนักเรียน งบประมาณ เอกสารประกอบการอบรม  30 เล่ม เล่ม ละ30บาท 30*30 = 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.นักเรียนจำนวน 30 คน ผ่านการฝึกซ้อมรำมโนราห์ครบทุกขั้นตอน 2.นักเรียนสามารถรำมโนราห์ในชุดท่าพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง ผลลัพธ์ 1.นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นจากการออกกำลังกายผ่านการรำ 2.นักเรียนมีความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 3.นักเรียนมีทักษะการเคลื่อนไหวและการแสดงออกที่ดีขึ้น 4.โรงเรียนสามารถเป็นศูนย์กลางในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะมโนราห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมร้อยลูกปัดมโนราห์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมร้อยลูกปัดมโนราห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดเลือกนักเรียนที่สนใจเรียนรู้การร้อยลูกปัดมโนราห์ 2.จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เช่น ลูกปัด ด้ายร้อยลูกปัด กรรไกร เข็ม 3.เชิญปราชญ์ชาวบ้านหรือครูผู้เชี่ยวชาญด้านการร้อยลูกปัด 4.อบรมให้ความรู้เบื้องต้น 5.แนะนำประวัติและความสำคัญของลูกปัดมโนราห์ 6.สาธิตวิธีการร้อยลูกปัดและการออกแบบลวดลาย 7.ฝึกปฏิบัติการร้อยลูกปัด 8.สัปดาห์ที่ 1-2: ฝึกพื้นฐานการร้อยลูกปัดแบบง่าย 9.สัปดาห์ที่ 3-4: ฝึกออกแบบลวดลายลูกปัดที่ซับซ้อนขึ้น 10.สัปดาห์ที่ 7-8: นักเรียนสร้างผลงานของตนเอง 11.นักเรียนทำแบบประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับลูกปัดมโนราห์ 12.ครูสังเกตพัฒนาการด้านสมาธิและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน งบประมาณ 1.วิทยกร 2 คน จัด 2 วัน 1,200 / คน วันละ 6 ชม. ชั่วโมงละ 200 บาท1,2004 = 4,800 บาท 2.ลูกปัด35 ถง ถุงละ 120 บาท35120 =4,200 บาท 3.เชือก5 มัดมัดละ 180 บาท 5180 = 900 บาท 4.กล่องใส่ลูกปัด 30 กล่อง กล่องละ 10 บาท 3010= 300 บาท 5.ขี้ผึงสำหรับลูดเชือก 5 ก้อน ก้อนละ 25 บาท 5*25= 125 บาท 6.อาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 35 บาท จำนวน30 ชุด2ชุด/วัน= 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.นักเรียนจำนวน 30 คน ผ่านการฝึกฝนการร้อยลูกปัดมโนราห์ครบทุกขั้นตอน 2.นักเรียนแต่ละคนสามารถร้อยลูกปัดและสร้างลวดลายของตนเองได้ 3.ผลิตเครื่องประดับมโนราห์สำเร็จ ไม่น้อยกว่า 30 ชิ้น ผลลัพท์ 1.นักเรียนมีสมาธิ ความอดทน และทักษะความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น 2.นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและสามารถสืบทอดได้ 3.ผลงานที่ผลิตขึ้นสามารถใช้จริงในกิจกรรมรำมโนราห์และงานวัฒนธรรม 4.โรงเรียนและชุมชนเกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน 5.นักเรียนสามารถนำทักษะที่ได้รับไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริมในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,425.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมทางกายมากขึ้น
2.นักเรียนมีความรู้และเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมมโนราห์ สามารถรำมโนราห์และร้อยลูกปัดมโนราห์ได้
3.นักเรียนมีทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม ฝึกสมาธิและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมที่ทำ


>