แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการจัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCDSชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม
นางสาวอรยาเกื้อสา
เขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายคนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพส่งเสริมสุขภาพทุกมิติ และวิถีชีวิต เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยลดหรือไม่ใช้ยาเคมีในการรักษาผลักดันเวชศาสตร์วิถีไทย และสุขภาพองค์รวม สู่การปฏิบัติ ให้เอื้อต่อการควบคุมดูแลและส่งเสริมสุขภาพ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนภารกิจศูนย์คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)ให้เกิดขึ้นทุกตำบล และสร้างศูนย์นำร่องให้หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม ประจำปี 2567 ผลงานการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวนเป้าหมายคัดกรองเบาหวาน1922 คน ได้รับการคัดกรอง 1859 คนคิดเป็นร้อยละ 96.72 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 97 คนคิดเป็นร้อยละ 5.21 และเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.09 และเป็นกลุ่มป่วยรายเก่าโรคเบาหวานจำนวน 249 คน จำนวนเป้าหมายคัดกรองความดันโลหิตสูง 1601 คน ได้รับการคัดกรอง 1559 คน คิดเป็นร้อยละ 97.38 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 8.01 และเป็นกลุ่มป่วย 18 คน คิดเป็นร้อยละ 14.4และกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง 578 คน ซึ่งแนวโน้มจะพบกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยมได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจตระหนักเห็นความสำคัญและได้รับการคัดกรองโรคได้ให้มากที่สุด พัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนให้มีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยชุมชนสามารถดูแลตนเองด้วยชุมชนเอง และมีการจัดตั้งศูนย์ศูนย์คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เพื่อชุมชนดูแลสุขภาพคนในชุมชนสร้างสุขภาพที่ดีขึ้น เป็นการสนองตามนโยบายประกันสุขภาพอีกทางหนึ่งจึงได้จัดทำคนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำปี 2568 ขึ้น
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
ร้อยละ 85 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเสี่ยง ป่วยมีความรู้และทัศนคติ ที่ดีมีทางเลือกและแนวทางปฏิบัติในการดูแล สุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
ร้อยละ85ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ป่วย มีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/05/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
2.ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าเกณฑ์ตัวชีวัด