2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ในการพัฒนาคนให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความสามารถในการเรียนรู้ คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาดังนั้น อาหารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียน เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเจริญเติบโต หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สมองของเด็กก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือ รากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กนักเรียนจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกทั้ง 5 หมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบิกบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
อาหารเช้า จึงเป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุดของเด็กวัยกำลังเจริญเติบโตเพราะการรับประทานอาหารเช้า จะส่งผลดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กๆ การที่นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า ดังนั้น เด็กๆควรได้รับประทานอาหารมื้อเช้า เพราะมีส่วนช่วยให้มีการพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น มีพละกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาสมอง พร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีสมาธิ และความจำ หากนักเรียนไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน หรือไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกัน อาจจะทำให้ป่วยง่าย และส่งผลในเรื่องสติปัญญาจะทำให้เรียนหนังสือไม่รู้เรื่องและจำอะไรได้ไม่ค่อยดี แต่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประทานอาหารอาหารมื้อเช้าซึ่งเป็นมื้ออาหารที่สำคัญ ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น ผู้ปกครองไม่มีเวลาเตรียมอาหารมื้อเข้าเพราะต้องรีบไปทำงานซึ่งที่ทำงานอยู่ไกลบ้าน นักเรียนอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่เป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งเป็นผู้ มีอายุ ผู้ปกครองมีฐานะยากจน ไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้เด็กไม่มีกำลังใจ และท้อถอย ไม่อยากไปโรงเรียน
จากการสำรวจและสัมภาษณ์นักเรียนโรงเรียนบ้านเปียะ พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องไปทำงานตั้งแต่เช้า และไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารมื้อเช้าให้กับลูก นักเรียนจะเลือกรับประทานอาหารมื้อเช้า ที่เป็นขนมกรุบกรอบที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งไม่ถูกหลักโภชนาการที่ดีและไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งของโรงเรียนบ้านเปียะ มีปัญหาภาวะโภชนาการ น้ำหนัก-ส่วนสูงต่ำ กว่าเกณฑ์
ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ ระดับชั้นอนุบาล ๒ จนถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 187 คน ผลปรากฏว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านเปียะ มีภาวะทุพโภชนาการ 48 คน ของนักเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 25.66
จากปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนบ้านเปียะ จึงเห็นความสำคัญและต้องการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพทั้งร่างกายและสมอง จึงได้จัดตั้งโครงการ “โครงการอาหารเช้าอิ่มนี้เพื่อน้องวัยใส” ขึ้น เพราะการรับประทานอาหารมื้อเช้านั้นเป็นมื้อสำคัญในการพัฒนาสมอง ของนักเรียน ถ้านักเรียนต้องมาโรงเรียนพร้อมกับความหิวต้องทนหิวมารอรับประทานหารกลางวันที่โรงเรียน จะทำให้นักเรียนมีปัญหาภาวะโภชนาการมีน้ำหนัก-ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเด็กรู้สึกหิวสมองก็จะไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออก ไม่ตั้งใจเรียน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและประสิทธิภาพในการเรียน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.นักเรียนได้รับประทานอาหารมื้อเช้าเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
2.นักเรียนมีน้ำหนัก – ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน