กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนบ้านลาไม (D2B TOGATHER)พิชิตฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงเรียนบ้านลาไม หมู่ 5 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

-

โรงเรียนบ้านลาไม หมู่ 5 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ๑. นักเรียนโรงเรียนบ้านลาไมมีปัญหาเรื่องการปวดฟัน จึงต้องขาดเรียน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน จึงอยากของบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาโดยการจัดอบรมวิธีการดูแลช่องปากและฟัน และจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียน

 

150.00
2 ๒. ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

 

75.00

สุขภาพช่องปากเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการเจริญเติบโตของนักเรียนนักเรียนในวัยเรียนมักเผชิญกับปัญหาฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลที่สูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม และขาดวินัยในการแปรงฟันอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
จากข้อมูลของกรมอนามัย พบว่าเด็กไทยวัยเรียนร้อยละ 50-60 มีปัญหาฟันผุ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม รวมถึงประสิทธิภาพการเรียน เนื่องจากอาการปวดฟันอาจทำให้เด็กขาดสมาธิและขาดเรียนบ่อยครั้ง นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากที่รุนแรงขึ้นในอนาคต
โรงเรียนบ้านลาไมจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน และมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลฟันที่ดีผ่านกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพฟัน การตรวจฟันโดยทันตแพทย์การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การดูสุขภาพช่องปาก และการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อฟัน
โครงการ นี้จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ลดอัตราการเกิดฟันผุ และส่งเสริมให้เด็กมีรอยยิ้มที่สดใสและสุขภาพที่ดี พร้อมสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่โรงเรียนบ้านลาไมจึงได้จัดทำโครงการบ้านลาไม (D2B TOGATHER)พิชิตฟันดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก

นักเรียนร้อยละ 80 สามารถบอกถึงสาเหตุของฟันผุและแนวทางป้องกันได้

150.00 120.00
2 ๒.เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกต้อง

นักเรียนร้อยละ 80 สามารถสาธิตการแปรงฟันที่ถูกต้องตามหลักทันตกรรม

150.00 120.00
3 ๓.เพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุของนักเรียน

นักเรียนร้อยละ 80 ไม่มีฟันผุเพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการ

150.00 120.00
4 ๔.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองร้อยละ 80 สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กแปรงฟันที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ

150.00 120.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 124
กลุ่มวัยทำงาน 26
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เรื่องการดูและสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เรื่องการดูและสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มนักเรียนชั้น ป.4 – ป.6จำนวน62คน-กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนชั้น อ.2 – ป.3 จำนวน75คน • ค่าจัดทำป้ายโครงการขนาด 1 X 3 ม. จำนวน1ป้าย/ละ750บาทเป็นเงิน750บาท
• ค่าตอบแทนวิทยากร3ชม. X 600 บาทเป็นเงิน1,800บาท • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียน150 X 25 X 1มื้อ เป็นเงิน3,750บาท • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ปกครอง75 X 25 X 1มื้อ เป็นเงิน1,875บาท • ค่าอาหารเที่ยงผู้ปกครองนักเรียน ชั้น อ.2 – ป.3จำนวน 75 คน /ละ 50 จำนวนเป็นเงิน3,750บาท งบประมาณ 11,925บาท


กำหนดการการจัดกิจกรรมให้ความรู้
เรื่อง สุขภาพช่องปากและการดูแลฟัน วัน พุธ ที่ ๒๕ เดือน มิถุนายนพ.ศ. 256๘เวลา 09.00 – 1๖.00 น. ๐๘.00 – 0๘.30 น.ลงทะเบียน 0๘.30 – 0๙.00 น. เปิดงานโดย ผอ.มะนาซาฮา หะยีหะมะ
๐๙.00 – 10.30 น รับฟังการบรรยาย โดย วิทยากร นางมูรณีย์ วาเด็ง ในหัวข้อ : ความสำคัญของสุขภาพอนามัยและฟัน - อธิบายโครงสร้างของฟันและช่องปาก - ความสำคัญของการดูแลสุขภาพฟัน - ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก 10.30 – 1๒.๐๐ น. การดูแลสุขภาพฟันที่ถูกต้อง
- วิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง - การใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปาก - พฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพฟัน

12.00 – 13.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 1๓.๐๐ – 1๔.๓0 น. ปัญหาสุขภาพฟันและการป้องกัน -
- ฟันผุ เหงือกอักเสบ และปัญหาช่องปากอื่น ๆ - การป้องกันและการรักษาเบื้องต้น - บทบาทของโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพฟัน
14.๓๐ – 1๖.๐0 น. ฝึกปฏิบัติและสรุปความรู้
- ฝึกปฏิบัติแปรงฟันอย่างถูกวิธี - ตอบคำถามและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ - สรุปเนื้อหาการบรรยายและปิดกิจกรรม


หมายเหตุ

-จัดบริการอาหารว่างและเครื่องดื่มระหว่างการอบรมจำนวน ๑มื้อ เวลา10.30 น.
-จัดบริการอาหารเที่ยงสำหรับผู้ปกครองชั้น อ.๒ - ป.๓ - วัน เวลา สถานที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-     นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและการป้องกันฟันผุ               -     นักเรียนมีวินัยในการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างสม่ำเสมอ                -    นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องตามหลักทันตกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11925.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ฟันสะอาดทุกซี่ ชีวีมีสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ฟันสะอาดทุกซี่ ชีวีมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มนักเรียนชั้น อ.2 – ป.6  จำนวน  150  คน
•  ค่าแปรงสีฟันโคโดโมะนักเรียนชั้น อ.2 – อ.3   จำนวน  26  ด้าม/ละ  35  บาท  เป็นเงิน  910  บาท
•  ค่าแปรงสีฟันคอลเกตนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6   จำนวน  124  ด้าม/ละ  15  บาท  เป็นเงิน  1,760  บาท
•  ค่ายาสีฟันโคโดโมะนักเรียนชั้น อ.2 – อ.3   จำนวน  26  หลอด/ละ  25  บาท  เป็นเงิน  650  บาท
•  ค่ายาสีฟันคอลเกตนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6   จำนวน  124  หลอด/ละ  20  บาท  เป็นเงิน  2,480  บาท
•  ค่าแก้วน้ำสแตนเลสนักเรียนชั้น อ.2 – ป.6   จำนวน  150  ใบ/ละ  25  บาท  เป็นเงิน  3,750  บาท
          งบประมาณ   9,650  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและการป้องกันฟันผุ               -     นักเรียนมีวินัยในการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างสม่ำเสมอ                -    นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องตามหลักทันตกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9650.00

กิจกรรมที่ 3 การประกวดห้องเรียนต้นแบบสุขภาพฟันดี

ชื่อกิจกรรม
การประกวดห้องเรียนต้นแบบสุขภาพฟันดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชั้น อ.2 – ป.6จำนวน 8 ห้อง • ค่าวัสดุที่ใช้สำหรับจัดมุมสุขภาพฟันดีชั้น อ.2 – ป.6จำนวน 8ห้อง/ละ 1,000บาทเป็นเงิน8,000บาท
• ค่าจัดซื้อวัสดุสำหรับห้องเรียนที่ชนะการประกวดห้องเรียนต้นแบบสุขภาพฟันดีลำดับที่ 1-3 และชมเชยจำนวน1,000บาท
งบประมาณ 9,000บาท เกณฑ์การประเมินการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ระดับชั้นอนุบาล 2 - ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ หัวข้อการประเมิน เกณฑ์พิจารณา คะแนนเต็ม ดีเยี่ยม ดีมาก ดี ๑ มุมความรู้สุขภาพช่องปากและฟัน มีบอร์ดนิทรรศการ โปสเตอร์ หรือสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพฟันในห้องเรียน ๒๐ มีบอร์ดและสื่อหลากหลาย ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ มีบอร์ดและสื่อ แต่ยังขาดบางหัวข้อ มีสื่อความรู้เพียงบางส่วน ๒ ความสะอาดและความเป็นระเบียบของห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด ปราศจากขยะ ไม่มีสิ่งสกปรกสะสม ๒๐ ห้องเรียนสะอาดมาก จัดเป็นระเบียบตลอดเวลา ห้องเรียนสะอาดดี แต่บางจุดยังต้องปรับปรุง ห้องเรียนพอสะอาด แต่ยังมีจุดที่ไม่เรียบร้อย ๓ สื่อการสอนเกี่ยวกับสุขภาพฟัน มีสื่อการสอน เช่น วิดีโอ หนังสือ หรือกิจกรรมเสริม ๒๐ มีสื่อการสอนที่หลากหลายและใช้สม่ำเสมอ มีสื่อการสอนแต่ยังใช้ไม่ต่อเนื่อง มีสื่อบางส่วนแต่ยังไม่ถูกนำมาใช้จริงจัง ๔ อุปกรณ์การดูแลช่องปาก มีแปรงสีฟัน แก้วน้ำ และยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับนักเรียน ๒๐ มีอุปกรณ์ครบถ้วนและนักเรียนใช้เป็นประจำ มีอุปกรณ์แต่ยังขาดบางส่วน มีอุปกรณ์แต่ไม่ได้ใช้ต่อเนื่อง ๕ ผลลัพธ์สุขภาพฟันของนักเรียน นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดีและมีแนวโน้มพฤติกรรมสุขภาพฟัน ๒๐ นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีฟันผุ หรือฟันผุลดลง นักเรียนบางส่วนยังมีฟันผุ แต่แนวโน้มดีขึ้น นักเรียนหลายคนยังมีปัญหาฟันผุและต้องดูแลเพิ่ม


เกณฑ์การให้คะแนนรวม คะแนนรวม ระดับการประเมิน 81 - 100 คะแนน ดีเยี่ยม ???? 61 - 80 คะแนน ดีมาก ????️ 41 - 60 คะแนน ดี ????





คำสั่งโรงเรียนบ้านลาไม ที่/ ๒๕๖๗ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีของนักเรียน และสนับสนุนให้ห้องเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพฟันอย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนบ้านลาไมจึงเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อดำเนินการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จึงแต่งตั้งคณะกรรมการการประเมิน ดังต่อไปนี้ ๑.นายมะนาซาฮาหะยีหะมะ ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานกรรมการ ๒. นางนูรีดา อาดำ หัวหน้าฝ่ายงบประมาณ กรรมการ ๓.นางสาวซารีปะระเอะ หัวหน้าฝ่ายงานบุคคล กรรมการ ๔.นางสาวโรสนีดา อูมา หัวหน้าฝ่ายงานวิชาการ กรรมการ ๕.นางวินิดาอาบู หัวหน้าฝ่ายงานทั่วไป กรรมการ ๖.นางสาวโนรีบองออาแซหัวหน้างานจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน กรรมการและเลขานุการ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ๑.กำหนดแนวทางและเกณฑ์การประเมินสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ๒.ดำเนินการประเมินห้องเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด ๓.ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ๔.สรุปผลการประเมินและรายงานผลต่อผู้บริหารโรงเรียน ๕.ประสานงานกับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของห้องเรียน


ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

สั่ง ณ วันที่ ๑๕เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๘



(ลงชื่อ)

(นายมะนาซาฮา หะยีหะมะ) ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลาไม

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและการป้องกันฟันผุ               -     นักเรียนมีวินัยในการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างสม่ำเสมอ                -    นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องตามหลักทันตกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,575.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1นักเรียนโรงเรียนบ้านลาไมมีสุขภาพปากและฟันที่ดี
8.2 ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมากขึ้น


>