กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก

1.นางดารา ทองอินทร์
2.นางอุดมวรรณ ทองอินทร์
3.นางทัศนีย์ ดำชุม
4.นางภัทรา ศรีชูทอง
5.นางเจริญ คงสม

หมู่ที่ 2,6,9 ต.ทุ่งนารี อ.ป่าบอน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย สาเหตุหลักสำคัญพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้มากกว่าคนอื่นๆ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มี 4 โรคหลัก ได้แก่ กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง, โรคมะเร็ง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคหวาน มัน เค็ม และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ประกอบกับการ เปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต และยังส่งผลให้เกิดความสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากภัยเงียบของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวมาข้างต้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบากได้เล็งเห็นความสำคัญ และมีดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จึงร่วมมือกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข ชุมชนและเครือข่าย อสม. ในเขตรับผิดชอบจัดทำโครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตรพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้ประชาชน 35 ปีขึ้นไปได้เข้าถึงการบริการส่งเสริมสุขภาพและกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ครอบคลุมในทุกมิติทั้งด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพ และลดภาวะแทรกซ้อนของโรคในกลุ่มผู้ป่วยปัญหาการดำรงชีวิตของผู้ป่วยและญาติเพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อค้นหา ตรวจคัดกรอง และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

1.กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการและมีส่วนร่วมในการคัดกรองสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

90.00 100.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในการดูแลต่อเนื่องได้

2.กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรมและมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

90.00 100.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูง หรือกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการดูแลและส่งต่ออย่างเป็นระบบ

3.กลุ่มเสี่ยงสูง หรือกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการดูแลและส่งต่ออย่างเป็นระบบ ร้อยละ 100

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน วัดความดันโลหิต รอบเอว และประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ร่วมกับเครือข่าย อสม.ในเขตรับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน วัดความดันโลหิต รอบเอว และประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ร่วมกับเครือข่าย อสม.ในเขตรับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน วัดความดันโลหิต รอบเอว และประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ร่วมกับเครือข่าย
1. ค่าแผ่นตรวจน้ำตาลที่ปลายนิ้ว 14 กล่องๆ ละ 1,500 บาท (กล่องละ100 ชิ้น) เป็นเงิน21,000บาท 2. ค่าเข็มเจาะน้ำตาลที่ปลายนิ้ว 7 กล่องๆ ละ 750 บาท (กล่องละ 200 ชิ้น) เป็นเงิน5,200บาท 3. ค่าถ่านกระดุมสำหรับเครื่องเจาะน้ำตาลที่ปลายนิ้ว 30 ก้อน ๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน1,050บาท 4. ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 300 คน เป็นเงิน 7,500 บาท 5.ค่าเอกสารการประชุม จำนวน 300 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการและมีส่วนร่วมในการคัดกรองสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 2.กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรมและมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36250.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อดูแลต่อเนื่องและเข้าระบบส่งต่อตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อดูแลต่อเนื่องและเข้าระบบส่งต่อตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.ติดตามเยี่ยมกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อดูแลต่อเนื่องและเข้าระบบส่งต่อตามเกณฑ์ 6. ประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงสูง หรือกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการดูแลและส่งต่ออย่างเป็นระบบ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำสื่อสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและติดตามประเมินค่าความดันโลหิตที่บ้าน และเจาะตรวจน้ำตาลซ้ำทุก 1-2 เดือน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำสื่อสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและติดตามประเมินค่าความดันโลหิตที่บ้าน และเจาะตรวจน้ำตาลซ้ำทุก 1-2 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำสื่อสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ  และติดตามประเมินค่าความดันโลหิตที่บ้าน และเจาะตรวจน้ำตาลซ้ำทุก 1-2 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในสถานบริการและในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงสูง หรือกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการดูแลและส่งต่ออย่างเป็นระบบ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการและมีส่วนร่วมในการคัดกรองสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2.กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรมและมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
3.กลุ่มเสี่ยงสูง หรือกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการดูแลและส่งต่ออย่างเป็นระบบ ร้อยละ 100


>