2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย หลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง บางรายประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนโรค มะเร็ง ความเครียด ฯลฯ ทำให้ระบบสุขภาพของคนไทยต้องเน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 5 อ. เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชนประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา ซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนที่จะร่วมใจแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองและชุมชนโดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยอายุ ๖ ปีขึ้นไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดิน วิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค และการฝึกรำมโนราห์ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพราะการเคลื่อนไหวร่างกาย ร่ายรำประกอบจังหวะดนตรี เป็นการออกกำลังกายในรูปแบบหนึ่งที่ไม่หนักจนเกินไป รวมทั้งฝึกระบบความจำในสมอง ในการจดจำท่ารำ โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ เป็นการป้องกันโรคสมองเสื่อมก่อนวัย รวมทั้งยังเป็นส่งเสริมการรวมกลุ่มการทำกิจกรรม ได้พบปะพูดคุย ทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันหรือต่างวัย ทำให้มีสังคม มีอารมณ์แจ่มใสและสุขภาพจิตที่ดี อีกทั้งยังสามารถนำวัฒนธรรมพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้โดยใช้มรดกทางวัฒนธรรม คือ รำมโนราห์
ชมรมคนรักสุขภาพบ้านหลวงจันทร์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำ “โครงการรำมโนราห์พากายใจเป็นสุข“ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกาย ส่งผลทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายความเครียด เสริมสร้างความสามัคคี และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 04/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย มีทักษะในการออกกำลังกาย
2.ผู้เข้าอบรมได้ยืดหยุ่นของร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
3.มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน มีสุขภาพจิตดีขึ้น