กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการท่วงทำนองแห่งสุขภาพเสียงเพลงเพื่อดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ชมรมนันทนาการและอนุรักษ์เพลงเก่าผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสตูล

1. นายสุรพงษ์ ทองช่วยประธานชมรม
2. นายสุนทรชูบัณทิต รองประธาน
3. นายวินิจ เปล่งประดับ รองประธาน
4. นายนิพนธ์รัตนประพันธ์ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้านดนตรี
5. นายสุรศักดิ์ ตันตระการสกุลเลขานุการ

ศูนย์นันทนาการผู้สูงอายุและพัฒนาอาชีพเทศบาลเมืองสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในชมรม

 

30.00

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ การทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและความสุขเป็นสิ่งสำคัญ การร้องเพลงเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ฝึกการหายใจ กระตุ้นความจำ ผ่อนคลายความเครียด ลดภาวะการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตนเอง ดังนั้น พัฒนาทักษะการร้องเพลงสำหรับผู้สูงอายุ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ชมรมนันทนาการและอนุรักษ์เพลงเก่าผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสตูล ได้จัดตั้งชมรมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกได้ฝึกการหายใจทำให้ระบบทางเดินหายใจแข็งแรง โดยกิจกรรมการร้องเพลงส่งเสริมให้สมาชิกได้มีสมาธิ ผ่อนคลาย กล้าแสดงออก สมาชิกได้ออกกำลังกายโดยกิจกรรมนันทนาการ เป็นจุดรวมของผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุยสามารถใช้เวลาว่างอย่างมีความสุข สร้างความรักความสามัคคีความเอาใจใส่ซึ่งกันและกันภายในชมรม รวมทั้งช่วยเหลือสังคมด้านต่างๆโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการพิทักษ์รักชาติศาสนาพระมหากษัตริย์และไม่เป็นภาระกับสังคม จึงขอจัดทำโครงการท่วงทำนองแห่งสุขภาพ เสียงเพลงเพื่่อผู้สุงอายุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุผ่านการร้องเพลง

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 30 คน

30.00 30.00
2 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง

0.00 6.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมร้องเพลง

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุุที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีภาวะโรคซึมเศร้า
แบบประเมินโรคซึมเศร้า 2Q
แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9Q
แบบประเมินภาวะความเครียดของกรมสุขภาพจิต (ST5)

0.00 21.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประชาสัมพันธ์ ประกาศรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การประชาสัมพันธ์ ประกาศรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการผ่านเสียงตามสายเทศบาลเมืองสตูล/สื่ออินโฟกราฟฟิกและรับสมัครผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 15 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคัดเลือกและจัดกลุ่มคัดเลือกผู้สูงอายุที่สมัครและแบ่งกลุ่มตามระดับพื้นฐานของการร้องเพลง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคัดเลือกและจัดกลุ่มคัดเลือกผู้สูงอายุที่สมัครและแบ่งกลุ่มตามระดับพื้นฐานของการร้องเพลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคัดเลือกและจัดกลุ่มคัดเลือกผู้สูงอายุที่สมัครและแบ่งกลุ่มตามระดับพื้นฐานของการร้องเพลง

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2568 ถึง 21 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มผู้สูงอายุที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมตามระดับพื้นฐานของการร้องเพลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการร้องเพลงสำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
การฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการร้องเพลงสำหรับผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการร้องเพลงสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน30 คน8 วัน ๆ ละ 3 ชั่วโมง รวม 24 ชั่วโมงโดยมีหลักสูตร ดังนี้
วันที่ 1: กิจกรรมแนะนำพื้นฐานการใช้เสียงและสุขภาพเสียงและการควบคุมลมหายใจเพื่อการร้องเพลง จำนวน 3 ชม.
1.) แนะนำตัวและสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
2.) ประเมินเสียงเบื้องต้น (Vocal Assessment)
3.) เรียนรู้โครงสร้างของระบบการออกเสียง (กล่องเสียง การหายใจ ฯลฯ)
4.) แบบฝึกหัด Warm-up และ Cool-down สำหรับเสียง
5.) ฝึก การหายใจด้วยกระบังลม (Diaphragmatic Breathing)
6.) ฝึก การควบคุมลมขณะร้องเพลง
7.) แบบฝึกหัดเป่าลมยาว ร้องเสียง ซู...ฟู.. เป้าหมาย
1) ให้ผู้สูงอายุเข้าใจร่างกายตนเองและวิธีดูแลเสียง
2) ให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมลมหายใจได้ดีขึ้น เพิ่มพลังเสียง

วันที่ 2: การใช้เสียงให้มีพลังและโทนเสียงที่เหมาะสม จำนวน 3 ชม
1.) ฝึก การปรับโทนเสียง (Vocal Projection)
2.) ฝึกไล่เสียง (Vocal Range Expansion)
3.) เรียนรู้การใช้เสียงที่เหมาะสมกับร่างกายตนเอง
เป้าหมาย
ให้ผู้สูงอายุสามารถใช้เสียงได้อย่างมีพลังโดยไม่ทำร้ายเสียง

วันที่ 3: กิจกรรมการออกเสียงและการร้องเพลงให้ชัดเจน จำนวน 3 ชม.
1.) ฝึก Articulation (การออกเสียงให้ชัดเจน)
2.) การขยับปาก ลิ้น และริมฝีปากเพื่อออกเสียงให้ชัดเจน
3.) ฝึกพูดและร้องเพลงที่มีพยัญชนะท้าทาย
เป้าหมาย
ให้ผู้สูงอายุร้องเพลงได้ชัดถ้อยชัดคำ

วันที่ 4 : กิจกรรม อารมณ์และการสื่อสารผ่านเสียงเพลง จำนวน 3 ชม.
1.) การสื่ออารมณ์ผ่านน้ำเสียงและการร้องเพลง
2.) ฝึกใช้สีหน้าและภาษากายขณะร้องเพลง
3.) เลือกเพลงที่มีความหมายและฝึกการแสดงออก
เป้าหมายให้ผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดอารมณ์ผ่านเสียงเพลงได้

วันที่ 5 กิจกรรม ฝึกการร้องเพลงเดี่ยว จำนวน 3 ชม.
1.) ฝึกการร้องเพลงเดี่ยวให้มั่นใจ
2.) ฝึกแก้ไขข้อผิดพลาดของแต่ละคน
เป้าหมาย ให้ผู้สูงอายุสามารถร้องเพลงร่วมได้อย่างมั่นใจ

วันที่ 6 กิจกรรมการสร้างบุคลิคภาพในการร้องเพลงบนเวที จำนวน 3 ชม.
1.) บุคลิกการแต่งกายแต่งกายอย่างไรให้เข้ากับเพลงที่ร้องและเหมาะสม
2.) บรรยากาศในงานการเดินขึ้นเวทีและจับไมค์แบบถูกต้อง
3.) ฝึกพูดบนเวทีแนะนำตัวและกล่าวทักทายก่อนร้องเพลงในที่ชุมชนหรือบนเวที
4.) การแก้ไขปัญหาต่างๆปฏิภาณไหวพริบที่เกิดขึ้นในที่ชุมชนขณะร้องเพลง

วันที่ 7 : ซ้อมการแสดง (Performance Practice) จำนวน 3 ชม.
กิจกรรม
1.) ซ้อมร้องเพลงแบบมีไมโครโฟน
2.) ฝึกการควบคุมความตื่นเต้นบนเวที
เป้าหมายให้ผู้สูงอายุพร้อมสำหรับการแสดงจริง

วันที่ 8: การแสดงปิดหลักสูตร จำนวน 3 ชม.
กิจกรรม
1.) จัดการแสดงโชว์ร้องเพลงในกลุ่ม
2.) ประเมินผลการพัฒนาโดยครูฝึกและผู้เข้าร่วม
3.) มอบเกียรติบัตร
เป้าหมายให้ผู้สูงอายุได้ใช้ทักษะที่เรียนมาทั้งหมดอย่างมั่นใจ

งบประมาณ
1) ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 24ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 7,440 บาท
- สำหรับผู้เข้าอบรมและวิทยากร วันฝึกอบรม จำนวน 31 ชุดคน ๆ ละ 30 บาท 8 วัน เป็นเงิน 7,440 บาท
3) ค่าฟองน้ำครอบหัวไมค์ จำนวน 30อัน ๆละ20บาท เป็นเงิน 600 บาท
4) ค่าป้ายไวนิลในการจัดกิจกรรมขนาด 1.5 ม. * 3 ม. (ตร.ม.ละ 150 บาท) เป็นเงิน 675 บาท
5) ค่าถ่ายเอกสารคู่มือการอบรม จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
6) ปากกา ด้ามละ 10 บาท จำนวน 30 ด้าม เป็นเงิน 300 บาท
7) แฟ้มกระดุม A4 จำนวน 30 อัน ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 450บาท
8) กระดาษ A4 1 รีม ราคา 150บาท
9) ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบประเมิน จำนวน 60 แผ่น จำนวนเงิน 60บาท
11) จ้างพิมพ์ใบเกียรติบัตร จำนวน 30 แผ่น ๆ ละ30บาท เป็นเงิน 900 บาท
10) ค่าจ้างถ่ายเอกสารและเข้าเล่มเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่ม เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 เมษายน 2568 ถึง 2 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 20-30 คน
2) การฝึกอบรมร้องเพลง ไม่น้อยกว่า 8-10 ครั้ง
3) มีการแสดงผลงานในชุมชนหรือภายในกลุ่ม
4) มีสื่อการสอน เช่น คู่มือ หรือบันทึกเสียงของผู้เข้าร่วม

ผลลัพธ์ (Outcome)
1) ผู้สูงอายุสามารถร้องเพลงได้อย่างมั่นใจและถูกต้องมากขึ้น
2) ผู้สูงอายุสุขภาพจิตดีขึ้น ลดความเครียดและความเหงา
3) สูงอายุมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว/ชุมชน
4) ผู้สูงอายมีความสุข และมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,375.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดีขึ้นผ่านการร้องเพลง
2) ริเริ่มกิจกรรมสันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ
3)ผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ
4) ผู้สูงอายุได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า
5) ชมรม มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น


>