กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เยาวชนคืออนาคตของชาติ แต่สังคมไทยกำลังประสบปัญหาที่เกิดขึ้น คือปัญหายาเสพติด ที่เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของประเทศ สถานการณ์ปัญหายาเสพติดได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างน่าวิตก ส่งผลให้เยาวชนหลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ยาเสพติดไม่เพียงทำลายเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลในอนาคตที่สำคัญ ยาเสพติดยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และนำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่าง ๆ ในสังคม เช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ผลการสำรวจล่าสุดพบว่ามีนักเรียนนักศึกษา เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึงกว่า ๕ ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ น้ำกระท่อม ยาบ้า ยาไอซ์ สาเหตุมาจากการอยากรู้ อยากลอง การชักชวนของเพื่อน การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดการตระหนักถึงพิษภัยและผลเสียที่จะตามมา ในขณะเดียวกันสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า เด็กและเยาวชนได้นำยารักษาโรคและยาอันตรายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ไปใช้ในทางที่ผิดเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ยาโปรโคดิล (Procodyl) และทรามาดอล (Tramadol) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วไป ซึ่งเยาวชนได้นำมาใช้ร่วมกับเครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ที่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อระบบประสาท มีอาการคล้ายอาการเมาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตำบลทรายขาว ได้เล็งเห็นปัญหาเรื่องยาเสพติดในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการโครงการอบรมให้ความรู้ เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนขึ้น เพื่อให้เยาวชน ได้เกิดความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติอีกทั้งเพื่อตอบสนองนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ดี ด้าน Drug-Free ห่างไกลยาเสพติด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงโทษ พิษ ภัย ของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

 

0.00
2 เพื่อให้เยาวชนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นเกราะป้องกันยาเสพติดให้แก่ตนเอง ตลอดจนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน ร่วมเป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับสถานศึกษาและชุมชน

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครอง/ประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 * 2.4 ม. จำนวน 1 ป้าย                     เป็นเงิน     500 บาท
       ๒. ค่าตอบแทน วิทยากรบรรยาย ๖๐๐ บาท * 6 ชม.                               เป็นเงิน  3,6๐๐ บาท        3. ค่าอาหารกล่อง 60 บาท* ๕5 กล่อง(ผู้เข้าอบรมและผู้ช่วยกิจกรรม)          เป็นเงิน  ๓,๓๐๐ บาท        4. ค่าขนม-น้ำดื่ม (เบรก)  ๕5 กล่อง x ๓๕ บาท = ๑,๙๒๕ บาท2 เบรก       เป็นเงิน  3,๘5๐ บาท            (ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่)
       5. ค่าถุงผ้า                  จำนวน   ๕5
๒5 บาท                                    เป็นเงิน ๑,๓๗๕ บาท
       ๖. สมุด                      จำนวน   ๕5๑0 บาท                                     เป็นเงิน   ๕5๐ บาท
       ๗. ปากกา                   จำนวน   ๕5
๑0 บาท                                     เป็นเงิน   ๕5๐ บาท
                                                                                รวมเป็นยอดเงินทั้งสิ้น   1๓,๗๒5 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13725.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2. เยาวชนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นเกราะป้องกันยาเสพติดให้แก่ตนเอง ตลอดจนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน ร่วมเป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับสถานศึกษาและชุมชน
3. ผู้ปกครอง/ประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน


>