2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสและคำว่า“เด็กกําพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีหลักการสำคัญคือ การระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็ก เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก และส่งเสริมหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการร่วมมือกันคุ้มครองเด็ก โดยในมาตรา 23 กล่าวคือ “ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและ วัฒนธรรมแห่งท้องถิ่นแต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ” โดยเด็กต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมนั้นและต้องได้รับการเลี้ยงดูให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงได้เรียนรู้ด้านจริยธรรม ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศไทยเกิดการชะลอตัว ค่าครองชีพ เครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ เด็กกำพร้าทำให้เด็กกำพร้าขาดโอกาสในการออกมาทำกิจกรรมในตำบลบางรายอาจเกิดความน้อยใจและถ้าไม่ได้รับการชี้นำแนวทางที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายภาคหน้า กอปรกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่๖) พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๖๗ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้ (๖) ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กกำพร้าในตำบลให้ดีขึ้นและครอบคลุมทุกพื้นที่ของตำบลคลองมานิงองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิงจึงได้จัดทำโครงการเด็กกำพร้า สุขภาพใจ สุขภาพกายดี ชีวีมีสุข (3 อ.) ประจำปี พ.ศ.2568เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและสร้างกำลังใจแก่เด็กกำพร้าส่งผลให้เด็กกำพร้ามีกำลังใจในการดำเนินใช้ชีวิตประจำวันในสังคมต่อไป
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กด้อยโอกาสและผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ
2.เพื่อเด็กด้อยโอกาสสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้
3.สามารถสร้างขวัญและกำลังใจแก่เด็กโอกาสและผู้ดูแล
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.เด็กด้อยโอกาสและผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ 2.เด็กด้อยโอกาสสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ 3.สามารถสร้างขวัญและกำลังใจแก่เด็กโอกาสและผู้ดูแล