2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง (anemia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและเป็นปัญหาสาธารณสุข การให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้แก่ เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เด็กก่อนวัยเรียน และหญิงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามการขาดธาตุเหล็กในทารกและเด็กวัยเรียนถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากการการเกิดภาวะซีดหรือโลหิตจางในเด็กส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านการเจริญเติบโต สติปัญญา และพฤติกรรมของเด็กในระยะยาว บางส่วนไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ นอกจากนี้ยังเกิดภาวะ การเจ็บป่วยบ่อย เกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย เชื่องซึม เฉื่อยชา อ่อนเพลียง่าย เนื่องจากหน้าที่สำคัญของ เม็ดเลือดแดง คือการขนส่งและปล่อยปริมาณออกชิเจนที่เพียงพอแก่เนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) ที่เหมาะสม ภาวะซีดจึงเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยและของโลกเป็นอย่างมาก โดยจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน - 12 ปี ระหว่างปีพ.ศ. 2553 -2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มเด็กปฐมวัยมีความชุกของโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 ในขณะที่เด็กในเขตเมืองพบ ความชุกของโลหิตจางร้อยละ 26 นอกจากนี้ โลหิตจางยังเป็นหนึ่งในสาเหตุ 5 อันดับแรกที่ส่งผลต่อสุขภาวะของเด็กไทย มีสาเหตุหลักมาจาก 1) สาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลใน กระเพาะอาหาร การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดในบรรดา ภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ดังนั้น การขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งยังส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ดังนั้นตามที่กรมอนามัย โดยสำนักโภชนาการได้ดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจาง และมีแนวทางการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก 0-5 ปี เพื่อให้เกิดเป้าหมายสูงสุดคือ การส่งเสริมสติปัญญาและศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น รพ.สต.บ้านป่าบาก ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการและป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก ปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนได้รับการคัดกรองพัฒนาการและการคัดกรองภาวะซีดและได้รับรักษาต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เด็ก 0 – 5 ปีได้รับการประเมินพัฒนาการ โภชนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
2. เด็ก 6 – 12 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองความเข้มข้นของเลือดทุกราย