2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติพบว่ามีการแพร่ระบาดทั่วทุกหมู่บ้านในเขตเมืองและ เขตชนบท เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศ โดยในปี 2567 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาวมีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 8 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ อายุ 10-14 ปี อาชีพที่พบสูงสุดคือ เด็กในปกครองและนักเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552มาตรา 67 (3) กล่าวว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และมาตรา16 (19) ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในด้านสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก 2568 ขึ้น เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ครอบคลุมไปถึงโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลบ้านขาว และดำเนินการป้องกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนเกิดความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจ รู้จักวิธีควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนตระหนักถึงการใช้วัตถุสิ่งของ ตลอดจนภาชนะที่มีน้ำขังและเป็นที่วางไข่ของยุงและที่อยู่อาศัยของลูกน้ำซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายถูกเก็บ คว่ำ ทำลาย ส่งผลให้ยุงลายตัวเต็มวัยในครัวเรือน วัด โรงเรียน และชุมชนลดลง
3. ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในการช่วยกันเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนมากขึ้น
4. การแพร่ระบาดของโรค อัตราป่วย และการสูญเสียชีวิตของประชาชนเนื่องจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ้านขาวลดลง
5. ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก