กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนหารบัวปลอดโรค รักษาสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

กลุ่มรักษ์บ้านหารบัว

1.นายไข่ สนธ์น้อย
2.นายพันธ์ ชูหนู
3. นายสุพัฒ คงสม
4.นายเอกสิทธิ์ แก้วหนู
5. นายวัฒนา ชูลีรักษ์

หมู่ที่ 9 บ้านหารบัวตำบลทุ่งนารีอำเภอป่าบอนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

50.00

ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งขยะเกิดจากครัวเรือน สถานประกอบการต่างๆ หากไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธีหรือไม่ลดการใช้ ไม่ใช้ซ้ำหรือคัดแยกขยะแล้ว จะลดปริมาณขยะไม่ได้ ซึ่งปัญหาขยะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ทำให้เป็นโรคภัยต่างๆกลุ่มอาสาสมัครคนรักษ์บ้านหารบัวเห็นว่าการที่ทำให้ปริมาณขยะลดลงและการดูแลสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะมีอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) จะเป็นแกนนำในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีหน้าที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวัง ดูแล เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนัก ด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ทำหน้าที่การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น และให้ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการภาคเอกชน ในการดำเนินการเกี่ยวกับการบริการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
ชมรมคนรักษ์บ้านหารบัว ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการชุมชนหารบัวปลอดโรค รักษาสิ่งแวดล้อม ขึ้น เพื่อให้สมาชิกกลุ่มชมรม ประชาชนและชุมชนได้รับการส่งเสริมการดำเนินการจัดการขยะตามหลัก 3 Rs ได้แก่ การลดการใช้(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse)และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มชมรมคนรักษ์บ้านหารบัว ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีสภาวะแวดล้อมที่ดี ชุมชนสะอาด ส่งผลให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ชุมชนสะอาด ประชาชนมีสุขภาพดี

50.00 70.00
2 เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรคที่มาจากขยะ

ลดโรคติดต่อจากสัตย์และแมลง

20.00 5.00
3 เพื่อสร้างพลังในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่จากทุกภาคส่วน และสร้างจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนในพื้นที่

ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

5.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะต้นทาง เพื่อป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะต้นทาง เพื่อป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม50 คนๆละ 35 บาท 1 มื้อ 1750บาท ค่าวิทยากร600บาท จำนวน 3 ชั่วโมง1,800บาท
ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 3 ป้าย ขนาด 1.2x2.4 x 200 เป็นเงิน 1728 บาท
ค่าถังขยะลดโลกร้อน จำนวน 50 ถังๆละ 100 บาท เป็นเงิน5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะต้นทาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10278.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมรอบอ่างเก็บน้ำบ้านหารบัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมรอบอ่างเก็บน้ำบ้านหารบัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเก็บขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้ ใบหญ้า
1. ค่าถุงดำ 1 แพ็ค 70 บาท
2. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม30 คน x 35 บาท เป็นเงิน1050 บาท
3. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเหมาจ่าย 1000 บาท
4. ค่าถุงมือผ้า ถุงละ 20 บาท จำนวน 10 คู่ เป็นเงิน200 บาท
5. ค่าถุงมือยาง1 กล่องๆละ250 เป็นเงิน250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สิ่งแวดล้อมรอบอ่างก็บน้ำมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยลดขยะลดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2570.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมตลาดหมู่บ้านตัวอย่าง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมตลาดหมู่บ้านตัวอย่าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเก็บขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้ ใบหญ้า
1. ค่าถุงดำ 1 แพ็ค 70 บาท
2. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม30 คน x 35 บาท เป็นเงิน1050 บาท
3. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเหมาจ่าย 1000 บาท
4. ค่าถุงมือผ้า ถุงละ 20 บาท จำนวน 10 คู่ เป็นเงิน200 บาท
5. ค่าถุงมือยาง1 กล่องๆละ250 เป็นเงิน250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สิ่งแวดล้อมตลาดหมู่บ้านตัวอย่าง  มีความเป็นระเบียบ  เรียบร้อย  ลดขยะ  ลดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,418.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ชุมชนมีสภาวะแวดล้อมที่ดี ชุมชนสะอาด ส่งผลให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สามารถป้องกันพื้นที่ในเขตตำบลทุ่งนารีไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรคที่มาจากขยะ
สามารถสร้างพลังในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่จากทุกภาคส่วน และสร้างจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนในพื้นที่


>