กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

พื้นที่หมูู่ที่ 1 - 4 และหมู่ที่ 8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหาร จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุงประกอบอาหารเองที่บ้าน หรือครัวเรือน ในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน ให้สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือนหรือการจัดเลี้ยงอาหารในหลายรูปแบบ ดังนั้นการควบคุมดูแลให้สถานประกอบกิจการประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น ยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้ประกอบการ มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอาหาร ร้านขายของชำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอจึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและเจ้าของร้านขายของชำ หมู่ที่ 1 – 4และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารและสุขบัญญัติข้อควรปฏิบัติในการจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารและสุขบัญญัติข้อควรปฏิบัติในการจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารตระหนักถึงผลกระทบอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหารและตระหนักถึงความสำคัญของหลักการบริการที่ดีแก่ผู้บริโภคผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยและผู้สัมผัส

ร้อยละ 80  ของร้านอาหารมีการตรวจประเมินร้านขายของชำ (ร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพ)

0.00
3 เพื่อให้เจ้าของกิจการร้านขายของชำ และประชาชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง

ร้อยละ 80 เจ้าของกิจการร้านขายของชำและประชาชน มีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง

0.00

การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหาร จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุงประกอบอาหารเองที่บ้าน หรือครัวเรือน ในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน ให้สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือนหรือการจัดเลี้ยงอาหารในหลายรูปแบบ ดังนั้นการควบคุมดูแลให้สถานประกอบกิจการประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น ยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้ประกอบการ มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอาหาร ร้านขายของชำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอจึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและเจ้าของร้านขายของชำ หมู่ที่ 1 – 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัยแก่ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยและเจ้าของกิจการร้านขายของชำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัยแก่ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยและเจ้าของกิจการร้านขายของชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25บาท จำนวน  40  คน   เป็นเงิน  2,000 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน  1 มื้อๆละ 50 บาท  จำนวน  40 คน     เป็นเงิน  2,000 บาท   
3.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600  บาท x 6  ชั่วโมง     เป็นเงิน  3,600    บาท 4. ค่าไวนิล ขนาด 1x2 เมตร  เป็นเงิน    700  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการดำเนินการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ ประชาชน ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ ประชาชน ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน  40  คน  เป็นเงิน 2,000  บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน  1 มื้อๆละ 50 บาท  จำนวน  40  คน    เป็นเงิน 2,000     บาท   
    1. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600  บาท x 6  ชั่วโมง    เป็นเงิน 3,600     บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจประเมินสถานประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินสถานประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชุดทดสอบกรกซาลิซิลิค (สารกันรา) จำนวน1 กล่องๆละ 240 บาทเป็นเงิน 240บาท 2.ชุดทดสอบโซเดียมไดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) จำนวน 1 กล่องๆละ 185 บาท เป็นเงิน185 บาท
  2. ชุดทดสอบบอแรกช์ จำนวน 1 กล่องๆละ 214บาท เป็นเงิน214บาท
  3. ชุดทดสอบสารฟอร์มาลีน จำนวน 10 กล่องๆละ 50 บาท เป็นเงิน500บาท 5.ชุดทดสอบซาลบูลทามอน (สารเร่งเนื้อแดง) จำนวน 1 กล่องๆละ 1,284 บาทเป็นเงิน 1,284 บาท 6.ชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลง จำนวน 1 กล่องๆละ 856 บาทเป็นเงิน 856 บาท
  4. ชุดทดสอบสารโพล่าในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 1 กล่องๆละ 900 บาทเป็นเงิน900บาท 8.ชุดตรวจสอบโคลีฟอร์มแบคทีเรียภาชนะสัมผัสอาหารและมือ(SI-2) พร้อมอุปกรณ์ จำนวน1 ชุดๆละ 1,800 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท9.ชุดทดสอบโคลีฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง (อ11) จำนวน 1กล่องๆละ 1,900 บาทเป็นเงิน 1,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7879.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,779.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการทุกประเภทมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารและคุ้มครองผู้บริโภคจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
2.ผู้ประกอบการด้านอาหาร/ร้านค้า ตระหนักถึงผลกระทบอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหารและตระหนักถึงความสำคัญของหลักการบริการที่ดีแก่ผู้บริโภค
3. ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
4.ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย


>