กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลด ละ เลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะหหา

ในพื้นที่ตำบลยะหาทั้ง 9 หมู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่าย ทำให้เกิดพิษภัย จากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟม (Potystyrene)ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (Benzene) ออกฤทธิ์ทำลาย ไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (phthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และจากการสำรวจปีพ.ศ. 2567 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 26.95 ล้านตัน หรือประมาณ 73,840 ตัน/วันเฉลี่ยเท่ากับ 1.12 กิโลกรัม/คน/วันโดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 1,000 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหารในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภค ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

รณรงค์ให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภค ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร ได้ร้อยละ 80

220.00 1.00
2 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภค ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร

ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภค ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร ได้ร้อยละ 80

220.00 1.00
3 3. เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม

ผู้ประกอบการค้าอาหาร เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม ได้ร้อยละ 80

220.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำกิจกรรม 2. จัดเตรียมข้อมูล/สถานที่/ความพร้อม 3. แจ้งแผนการปฏิบัติงานตามโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 5. ประชาสัมพันธ์การให้ข้อมูล ข่าวสารทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทางเพจและFackbook ของอบต.ยะหา 6. สรุปผลการดำเนินงาน ชนิดกิจกรรม 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 2. กิจกรรม รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน800 บาท

กิจกรรมที่1กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร อบรมเชิงปฏิบัติการ ลด ละ เลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีรุ่นที่ 1 (จำนวน 75 คน) 1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับดำเนินโครงการเป็นเงิน 7,155 บาท - สมุด 75 เล่มๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน1,500 บาท - ปากกา 75 ด้ามๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน750 บาท - เอกสารประกอบการอบรม 75 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท - แฟ้มใส่เอกสาร 75 แฟ้มๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,875 บาท - กระดาษบรู๊ฟ 12 แผ่นๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน120บาท - ปากกาเคมีสองหัว ตราม้า จำนวน 3 กล่องๆละ 220 บาท เป็นเงิน 660 บาท รวมเป็นเงิน 16,455 บาท

อบรมเชิงปฏิบัติการ ลด ละ เลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีรุ่นที่ 2 (จำนวน 75 คน) 1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 3,750 บาท 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับดำเนินโครงการ เป็นเงิน 7,155 บาท - สมุด 75 เล่มๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ปากกา 75 ด้ามๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน750 บาท - เอกสารประกอบการอบรม 75 ชุดๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน2,250 บาท - แฟ้มใส่เอกสาร 75 แฟ้มๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน1,875 บาท - กระดาษบรู๊ฟ 12 แผ่นๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 120บาท - ปากกาเคมีสองหัว ตราม้า จำนวน 3 กล่องๆละ 220 บาท เป็นเงิน660 บาท รวมเป็นเงิน 16,455 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ด้านสุขภาพที่ดีในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
  2. ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหารใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน
  3. สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33710.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภค ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภค ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำกิจกรรม 2. จัดเตรียมข้อมูล/สถานที่/ความพร้อม 3. แจ้งแผนการปฏิบัติงานตามโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 5. ประชาสัมพันธ์การให้ข้อมูล ข่าวสารทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทางเพจและFackbook ของอบต.ยะหา 6. สรุปผลการดำเนินงาน ชนิดกิจกรรม 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 2. กิจกรรม รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

  1. ค่าป้ายรณรงค์(No Foam ขนาด 0.5 x 0.5 )จำนวน 11ป้ายๆละ 300บาทเป็นเงิน 3,300บาท
  2. ค่าแผ่นพับรณรงค์อันตรายจากการใช้โฟม จำนวน 700 แผ่น ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
  3. ค่าชามกระดาษจากชาญอ้อย จำนวน 700 ใบๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 7,000 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  5. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  6. ค่าป้ายสติกเกอร์สัญลักษณ์(ร้านนี้ปลอดภัยไม่ใช่โฟมบรรจุอาหาร ขนาดA4) จำนวน 30 ป้ายๆ 120 บาทเป็นเงิน 3,600บาท รวมเป็นเงิน 27,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ด้านสุขภาพที่ดีในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
  2. ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหารใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน
  3. สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,610.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ด้านสุขภาพที่ดีในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
2. ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหารใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน
3. สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง


>