กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการพัฒนาการโค้ชวิถีชีวิตในผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิด 2 เทศบาลเมือง สะเตงนอก จังหวัดยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการพัฒนาการโค้ชวิถีชีวิตในผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิด 2 เทศบาลเมือง สะเตงนอก จังหวัดยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aging Society) และคาดว่าในปี พ.ศ. 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2566) รายงานว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี พ.ศ. 2583 ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาคสาธารณสุขและสังคม เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเผชิญกับปัญหาสุขภาพเรื้อรังมากขึ้น การมีสุขภาพที่แข็งแรงและสามารถดูแลตนเองได้จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยลดภาระของภาครัฐ ลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและเป็นอิสระ (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2566)
การสูงวัยมาพร้อมกับกระบวนการเสื่อมของร่างกาย ทำให้ความสามารถในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) หนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุคือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus: T2DM) ซึ่งมีอัตราการเกิดเพิ่มขึ้นตามอายุ จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค (2566) พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 5 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคเบาหวานเป็นภาวะเรื้อรังที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจโรคไตเรื้อรัง ตาพร่ามัว หรือแผลเรื้อรังที่นำไปสู่การสูญเสียอวัยวะ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลงและ เพิ่มภาระต่อระบบสาธารณสุข การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระยะยาว (กรมควบคุมโรค, 2566)
ดังนั้น โครงการ “การพัฒนาการโค้ชวิถีชีวิตในผู้สูงอายุและผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เทศบาลเมือง สะเตงนอก จังหวัดยะลา” จึงมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถจัดการตนเองได้ดีขึ้นผ่านกระบวนการ โค้ชวิถีชีวิต (Lifestyle Coaching) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการโค้ชจะมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้และฝึกฝนการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพจิตของตนเองภายใต้แนวคิดผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Care)ที่คำนึงถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ การดำเนินโครงการในเทศบาลเมืองสะเตงนอก จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะด้านสังคมและวัฒนธรรม จะช่วยให้การโค้ชสามารถเข้าถึงและตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในระยะยาว ลดอัตราภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างแข็งแรงและมีความสุขในสังคมสูงวัยที่กำลังเกิดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการโค้ชวิถีชีวิตที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเทศบาลเมืองสะเตงนอก จังหวัดยะลา

ผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จากคะแนนก่อนการอบรม

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพจิต

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้จริง เช่น การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมาย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 250
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรม “เวซศาสตร์วิถีชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ”

ชื่อกิจกรรม
การอบรม “เวซศาสตร์วิถีชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมหลักที่ 1 : การอบรม “เวซศาสตร์วิถีชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” รุ่นที่ 1 จำนวน 125 คน ค่าใช้จ่ายดังนี้ (1) ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการเป็นเงิน1,350 บาท ขนาด 1.5 X 3 เมตร (1 ป้าย) (2) ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงบรรยาย เป็นเงิน3,000บาท 1 คน x 500 บาท X 6 ชม. x 1 วัน (3) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 8,750 บาท 125 คน X 35 บาท X 2มื้อ X 1 วัน
(4) ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน9,375บาท
125 คน X 75 บาท X 1 มื้อ x 1 วัน (5) ชุดฝึกเชิงปฏิบัติการควบคุมการรับประทานอาหาร เป็นเงิน 12,500บาท 125 คน x 100บาท
รวมเป็นเงิน34,975 บาท
รุ่นที่ 2 จำนวน 125 คนค่าใช้จ่ายดังนี้ (1) ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงบรรยาย เป็นเงิน 3,000บาท 1 คน x 500 บาท X 6 ชม. x 1 วัน (2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน8,750 บาท 125 คน X 35 บาท X 2มื้อ X 1 วัน
(3) ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 9,375บาท
125 คน X 75 บาท X 1 มื้อ x 1 วัน
(4) ชุดฝึกเชิงปฏิบัติการควบคุมการรับประทานอาหาร เป็นเงิน 12,500บาท 125คน x 100บาท
รวมเป็นเงิน33,625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1) ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลตนเอง 2) ผู้สูงอายุมีผลการทดสอบความรู้ก่อน - หลังอบรม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 (Pre - Post Test) 3) ผู้เข้าร่วมอบรมมีแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างน้อย คนละ 1 พฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
68600.00

กิจกรรมที่ 2 การโค้ชวิถีชีวิตรายบุคคลในผู้สูงอายุและผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิด 2 เทศบาลเมืองสะเตงนอก จังหวัดยะลา

ชื่อกิจกรรม
การโค้ชวิถีชีวิตรายบุคคลในผู้สูงอายุและผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิด 2 เทศบาลเมืองสะเตงนอก จังหวัดยะลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1)ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงบรรยาย      เป็นเงิน     4,500  บาท 1 คน x 500 บาท x 3  ชม.  X 3  วัน (2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  เป็นเงิน    3,150   บาท 30 คน x 35  บาท x 1 มื้อ x 3 วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1) ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลตนเอง 2) ผู้สูงอายุมีผลการทดสอบความรู้ก่อน - หลังอบรม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 (Pre - Post Test) 3) ผู้เข้าร่วมอบรมมีแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างน้อย คนละ 1 พฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 76,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลตนเอง
2) ผู้สูงอายุมีผลการทดสอบความรู้ก่อน - หลังอบรม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 (Pre - Post Test)
3) ผู้เข้าร่วมอบรมมีแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างน้อย คนละ 1 พฤติกรรม


>