กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในพื้นที่เทศบาลตำบลเทพา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์1 โรงพยาบาลเทพา

เทศบาลตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในสถานการณ์ปัจจุบันโรคกระดูกและข้อมีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และข้อที่เสื่อมมากที่สุดคือข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่ต้องรองรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังทำหน้าที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนักและมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่าทำให้มีอาการปวด บวม แดงร้อนที่เข่า ซึ่งเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงการเสื่อมในกลุ่มอายุที่มีอายุ 60ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ตำแหน่งของข้อที่มีการเสื่อม ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้า แต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วย และต้องเข้ารับบริการมากที่สุด คือ ข้อเข่า ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยทั่วไปจะรับการรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งยาดังกล่าวหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย และความดันโลหิตสูง
ปี พ.ศ.2567 คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์1 โรงพยาบาลเทพา มีผู้ป่วยในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเทพา เข้ารับบริการแพทย์แผนไทยด้วยอาการปวดเข่า จำนวน 142 ครั้ง ด้วยเหตุนี้คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์1 โรงพยาบาลเทพา ได้ตระหนักถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจึงนำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยจัดเป็นโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่า ซึ่งมีกิจกรรม คือการนวดกดจุดสัญญาณ, การใช้สมุนไพรพอกเข่า ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้วยท่าฤาษีดัดตน และการให้คำแนะนำ เพื่อลดอาการปวดเข่า อีกทั้งช่วยลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบันดังนั้นคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์1 โรงพยาบาลเทพา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในพื้นที่เทศบาลตำบลเทพา เพื่อดูแลผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมให้มีอาการปวดลดลง ส่งเสริมให้ผู้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถใช้สมุนไพรในท้องถิ่นนำมาทำยาพอกเข่าตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถใช้สมุนไพรในท้องถิ่นนำมาทำยาพอกเข่า
  1. ร้อยละ 80 มีความรู้ด้านแพทย์แผนไทยในการดูแลอาการปวดข้อเข่า
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อดูแลผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าให้มีอาการปวดลดลง
  1. ร้อยละ 80 อาการปวดข้อเข่าลดลง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 33
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ให้ความรู้เรื่องภาวะข้อเข่าเสื่อม 1.2 การนวดกดจุดข้อเข่าเสื่อม 1.3 การพอกยาสมุนไพร 1.4 การทำยาหม่องสมุนไพร 1.5 การฝึกท่าบริหารและฤาษีดัดตนดูแลอาการข้อเข่าเสื่อม งบประมาณ 1. ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาทx 6 ชั่วโมง x 2 ท่าน = 3,600 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วม วิทยากร และเจ้าหน้าที่
30 บาท x2มื้อ x 33 คน= 1,980 บาท 3. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วม วิทยากร และเจ้าหน้าที่ 80 บาทx33 คน = 2,640 บาท 4. สมุนไพรพอกเข่า ประกอบด้วย 4.1 ผงไพลบดละเอียด กิโลกรัมละ 200 x 1 กิโลกรัม = 200 บาท 4.2 ผงฟ้าทะลายโจรบดละเอียด กิโลกรัมละ 290 x 3 กิโลกรัม = 870 บาท 4.3 ผงรางจืดบดละเอียด กิโลกรัมละ 220 x 1 กิโลกรัม = 220 บาท 4.4 ผงยาห้ารากบดละเอียด กิโลกรัมละ 250 x 2 กิโลกรัม = 500 บาท 4.5 ผงขมิ้นชันบดละเอียด กิโลกรัมละ 180 x 1 กิโลกรัม = 180 บาท 5. ส่วนผสมยาหม่องสมุนไพร
ประกอบด้วย 5.1 น้ำมันไพล(450ซีซี) ขวดละ 400 x 2 ขวด = 800 บาท 5.2 พิมเสน กิโลกรัมละ 920 x 1 กิโลกรัม = 920 บาท 5.3 การบูร กิโลกรัมละ 520 x 1 กิโลกรัม = 520 บาท 5.4 เมนทอล กิโลกรัมละ 900 x 1 กิโลกรัม = 900 บาท 5.5 วาสลีน กิโลกรัมละ 130 x 3 กิโลกรัม = 390 บาท 5.6 พาราฟีน กิโลกรัมละ 130 x 3 กิโลกรัม = 390 บาท 5.7 น้ำมันระกำ ขวดละ 280 x 2 ขวด = 560 บาท 5.8 ขวดแก้วใส่ยาหม่องขนาด20กรัมฝาทอง ขวดละ 4 บาท x 100 ขวด = 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15070.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,070.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ที่อาการปวดข้อเข่ามีความรู้ด้านแพทย์แผนไทยในการดูแลอาการปวดข้อเข่า
2.ผู้ที่อาการปวดข้อเข่ามีอาการปวดลดลง


>