กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ หมู่บ้านสะอาด ลดโรคระบาดในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

คณะกรรมการหมู่บ้านบ้านทุ่งใหญ่

1 นายอาหามะรอหิมิงมะเละ
2 นายมะนาอินเจ๊ะเซ็ง
3 นายรัชชานนท์แดงเพ็ง
4 นางสาวมารีนาปะด้อ
5 นางสาวฮาสานะห์สาแม็ง

ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อมีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรคประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรคและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่มีขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค จึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคโดยเฉพาะแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สาเหตุโรคไข้เลือดออก และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการ ปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน
ดังนั้น คณะกรรมการหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการ หมู่บ้านสะอาด ลดโรคระบาดในชุมชน ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านในที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งถ้าหมู่บ้าน/ชุมชนมีความสะอาดแล้วโรคติดต่อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนก็ลดลงได้อย่างมากส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไปได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและแยกประเภทขยะได้อย่างถูกต้อง ข้อที่ 2 เพื่อให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และชุมชนหมู่บ้านสะอาดน่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคต่าง ๆ

1.ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและแยก ประเภทขยะได้อย่างถูกต้อง 2.สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการในการรักษาชุมชน ให้น่าอยู่และลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 54
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการหมู่บ้านสะอาด ลดโรคระบาดในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
โครงการหมู่บ้านสะอาด ลดโรคระบาดในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม
    อบรม/ให้ความรู้เกี่ยวกับ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมใน ปัจจุบัน และการบริหารจัดการขยะในชุมขนแบบยั่งยืน เพื่อรักษ์โลก และลดโรคระบาดในชุมน และเทคนิคการคัดแยกขยะ ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย
    ๒. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอย/การบริหารจัดการขยะเปียกในครัวเรือน ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย สาธิตและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การคัดแยกขยะและการนำไปใช้ประโยชน์ การจัดการขยะอินทรีย์และจัดทำถังขยะเปียก
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและแยกประเภทขยะได้อย่างถูกต้อง ข้อที่ 2 เพื่อให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และชุมชนหมู่บ้านสะอาดน่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคต่าง ๆ ผลลัพธ์ 1.ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและแยก ประเภทขยะได้อย่างถูกต้อง 2.สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการในการรักษาชุมชน ให้น่าอยู่และลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม และแยกประเภทขยะได้อย่างถูกต้อง
2. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง
3. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และชุมชนหมู่บ้านสะอาด น่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ


>