กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ เทศบาลตำบลเทพา ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

กองสาธารณสุขฯ

เทศบาลตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายและให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาด ประกอบกับปัจจุบัน พบว่า วัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้คนนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารสำเร็จรูปมากยิ่งขึ้น สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร จึงมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน เนื่องจากการจำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมีหรือโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ และนอกจากนี้การที่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหารและน้ำ รวมทั้งการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ในระหว่างการเตรียมปรุง ประกอบอาหารก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหาร ฉะนั้น จึงต้องมีการควบคุม ดูแล ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ กรรมวิธีการปรุงหรือประกอบอาหารสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้อื่นๆ และสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ที่กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 กำหนด
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเทพา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่ มีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในสถานที่จำหน่ายอาหารของตนและเป็นไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวและเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความสะอาดและปลอดภัยของอาหารให้กับร้านอาหารในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเทพาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการเตรียมปรุงประกอบอาหาร และจำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

ข้อที่ 1. ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมในการเตรียมปรุง ประกอบอาหาร และจำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย

ข้อที่ 2. ประชาชนในพื้นที่และผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่ออบรมผู้ประกอบกิจการอาหาร ตามหลักสูตรสุขาภิบาลอาหาร ของกรมอนามัย

ข้อที่ 3. ร้อยละ 100 ของผู้เช้ารับการอบรมได้รับทราบมาตรฐานสุขาภิบาลตามที่กรมอนามัยได้กำหนดขึ้นมาใหม่

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ สุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบกิจการ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ สุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบกิจการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายโครงการ (ขนาด ๑.2 x 2.4 เมตร 1 ป้าย)เป็นเงิน432.-บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ 600 บาทเป็นเงิน 3,600.-บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 45 คนๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,350.-บาท (สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่) กิจกรรมให้ความรู้
  4. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 80 บาท 45 คน เป็นเงิน 3,600.-บาท
  5. ผ้ากันเปื้อนพร้อมหมวก จำนวน 35 ชุดๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 5,250.-บาท (สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14232.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน2 วันๆ ละ 120 บาท จำนวน 6 คน เป็นเงิน 1,400.- บาท(สำหรับคณะกรรมการตรวจร้าน)
  2. ป้าย SAN จำนวน 35 ป้ายๆ ละ 175 บาท(ขนาด 30*30 ซม.)เป็นเงิน6,125.- บาท
  3. น้ำยาทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 2 กล่อง(กล่องละ 20 ตัวอย่าง) เป็นเงิน 3,000. -บาท
  4. น้ำยาทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (ชุดทดสอบSI2) จำนวน 3 กล่อง (กล่องละ 50 ตัวอย่าง) เป็นเงิน 4,500.-บาท
  5. ค่าเบ็ดเตล็ดเป็นเงิน 143.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15168.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยมีความรู้เกี่ยวกับร้านอาหารและแผงลอยที่ได้มาตรฐาน
2. ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน SAN
3. ลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ


>