กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในชุมชน ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

นายโรจน์ทองรอด
นางจารุภาภาคเพิ่ม
นายเจือบคงสิน
นางหยิ้งชมภูพล
นายพินหนูผัน

เขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3,5,6,8,9 และ 11 ตำบลทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยเฉพาะการที่ต้องเผชิญกับจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่น้อยลง ในขณะที่ประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ประเทศไทยเข้าสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เมื่อพิจารณาแนวโน้มมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2583 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 12 ล้านคน เป็น 20.5 ล้านคน (นิตยา ดิษฐาน, 2567) ผู้สูงอายุภาคใต้ ปี พ.ศ. 2556 - 2566 พบว่า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจังหวัดตรัง และอำเภอย่านตาขาว ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม (รพ.สต.) ตำบลทุ่งค่าย เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอย่านตาขาว มีประชากรผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 808 คน คิดเป็นร้อยละ 19.42 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในไม่ช้า เพื่อลดภาวะวิกฤตในสังคมผู้สูงวัยที่จะมาถึง ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม จึงให้ความสำคัญในการปรับใช้กับสังคมผู้สูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพดี ทำให้ทุกคนมีหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต รวมถึงทำให้ผู้สูงวัยได้มีส่วนร่วม และมีคุณค่าทางสังคม
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ชมรมผู้ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยมได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพแและการเรียนรู้ของชมรมผู้ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในชุมชน ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนด้านการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชนในรูปแบบมหาลัยชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และบริการสาธารณะ ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน ซึ่งผู้สูงอายุเป็นทุนทางสังคมที่มีศักยภาพ สมควรส่งเสริมให้เป็นทรัพยากรที่เข้มแข็งและมีคุณค่าให้ยาวนานที่สุด กิจกรรมที่เป็นประโยชน์นี้ทำให้ผู้สูงอายุเกิดปิติสุขได้บริหารกาย จิต สังคม เป็นบุคคลที่พัฒนาไปตามกาลสมัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พึ่งตนเองได้และสามารถเป็นพลังให้การพึ่งพาแก่ชุมชนและสังคม ให้มีการบริหารจัดการที่เข้มแข็งยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

สมาชิกชมรมได้รับการตรวจสุขภาพและคัดกรองความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถผลิต แชมพูสมุนไพรสมุนไพรจากสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนได้ ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน คนละ 70 บาท รวมเป็นเงิน 4,900 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน คนละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย จำนวน 70 ชุด ชุดละ 40 บาทรวมเป็นเงิน 2,800 บาท
5. ค่าไวนิล จำนวน 1 ผืน ผืนละ 500 บาทรวมเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2568 ถึง 6 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนมีความรู้เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพิ่มขึ้น และได้รับการตรวจสุขภาพและคัดกรองความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกการผลิตแชมพูสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
ฝึกการผลิตแชมพูสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าขวดแชมพู  จำนวน 70 ขวดๆ ละ 30 บาท                เป็นเงิน 2,100  บาท
  • ค่าน้ำมะกรูด จำนวน 5 ลิตร ๆ ละ 140 บาท                เป็นเงิน 700    บาท
  • ค่าน้ำดอกอัญชัญ จำนวน 2 ลิตรๆ ละ 100 บาท              เป็นเงิน 200    บาท
  • ค่าชุดทำแชมพู จำนวน 5 ชุด ชุดละ 200 บาท              เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2568 ถึง 6 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถผลิต แชมพูสมุนไพรสมุนไพรจากสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน สามารถช่วยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสารเคมีได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุมีการพัฒนาตนเอง มีการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่าง
เหมาะสมในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มพัฒนาทักษะ ความรู้ที่เหมาะสม


>