2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบันของประเทศไทยซึ่งจากสถิติพบว่า มีการระบาดทั่วทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทเป็นโรคติดต่อที่สร้างความเสี่ยงในการเสียชีวิตและต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่อยข้างสูง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – วันที่ 18พฤศจิกายน2567 จังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วยจำนวน2,164 ราย ประชากร มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.16 ต่อแสนประชากร (อำเภอเมือง 1 ราย)อำเภอปะนาเระ มีผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 203 คนคิดเป็นอัตราป่วย 489.80 ต่อแสน พบมากที่สุดในพื้นที่ของตำบลปะนาเระตำบลบ้านกลางตำบลบ้านน้ำบ่อตำบลท่าน้ำ ตำบลท่าข้ามและบ้านนอก ตามลำดับ ในส่วนของตำบลดอนมีผู้ป่วยจำนวน 11 รายคิดเป็นอัตราป่วย 351.14 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต พบในพื้นที่ของ หมู่ที่ 1 ,2 ,3, 4, 5ซึ่งจากการพิจารณาตามหลักระบาดวิทยา ไข้เลือดออกจะมีการระบาด ปีเว้นสองปี ซึ่งคาดการณ์ว่า ปี 2568 อาจมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ประกอบกับพื้นที่ของตำบลดอนเองจะมีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง มีต้นไม้มาก มีแหล่งน้ำต่าง ๆ หลายแห่ง ทั้งที่ใช้ประโยชน์และไม่ใช้ประโยชน์ ทำให้การดูแลค่อนข้างยาก ไม่ทั่วถึง รวมทั้งมีสถานที่ที่จะต้องดูแลหลายแห่ง คือ โรงเรียนจำนวน 5 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่งซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดการระบาดของโรคแล้วส่งผลกระทบต่อเด็กและประชาชนในพื้นที่เองยังมีบางส่วนขาดความรู้ความตระหนักเรื่องของการป้องกันและควบคุมโรค
จากสถานการณ์ดังกล่าว มีความเป็นไปได้สูงที่โรคไข้เลือดออก จะมีการระบาดในพื้นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นโรคประจำถิ่นของตำบลดอนมาก่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลดอน ปีงบประมาณ ๒๕๖8 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้อย่างทันท่วงทีทั้งกรณีเกิดการระบาด หรือการป้องกันในช่วงปกติ โดยดำเนินการครอบคลุมทั้งโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการ และชุมชนทุกหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/12/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?แกนนำชุมชนและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจมีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สามารถดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคได้ทั้งในช่วงปกติและช่วงที่มีการระบาด