แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการรักษ์สุขภาพ ม.6 บ้านควนเคี่ยมชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย
อสม.หมู่ที่ 6 บ้านควนเคี่ยม
1. นายกฤษฎา อรรถรัฐ
2. นายจรูญ ฉิ้มเกิด
3. นางสุพรรณ ทองรอด
4. น.ส กาญจนา ทวนดำ
5. นางนฤมล ซ่อนขำ
หมู่ที่ 6 บ้านควนเคี่ยม ตำบลทุ่งค่าย
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด เป็นต้น ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูง ในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงยิ่งคัดกรองมากก็จะพบ กลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวทางแก้ไขต้องดำเนินการให้เป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรอง จากนั้นนำมาจัดกลุ่ม ดี เสี่ยง ป่วย ในกลุ่มป่วยต้องดำเนินการให้การรักษา ต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม แต่ถ้าหากจะใช้เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอ จึงต้องบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน จากสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) หมู่ที่ 6 บ้านควนเคี่ยม ตำบลทุ่งค่าย มีอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ และอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านควนเคี่ยม ตำบลทุ่งค่าย ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์สร้างการดูแลสุขภาพให้มีพฤติกรรมที่ดีอย่างยั่งยืน และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรัง อสม.หมู่ที่ 6 บ้านควนเคี่ยม ตำบลทุ่งค่าย จึงได้จัดทำโครงการรักษ์สุขภาพ ม.6 บ้านควนเคี่ยม ขึ้น เพื่อเป็นการตรวจของสุขภาพประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งทำให้สามารถทราบได้ว่าประชาชน ใครเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และได้รับความรู้และความเข้าใจเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินงานป้องกันและรักษาโรค ต่อไป
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 13/03/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและพบว่าเสี่ยงสูง ได้รับการส่งต่อพบแพทย์
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิต สูงรายใหม่ลดลง จากปี 2567
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม เจาะน้ำตาล และวัดความดันโลหิตที่บ้าน
4. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ความเข้าใจดังกล่าว ไปถ่ายทอดต่อผู้อื่นและชุมชนได้