กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพ่อแม่ห่วงใยใส่ใจเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงเรียนอนุบาลพงบูโล๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กในช่วงอายุ2-6ปีเป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกัน โภชนาการเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาของเด็กการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจึงมีความสำคัญในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกายป้องกันโรคดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีเพื่อให้มีภาวะร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง โภชนาการจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อสุขภาพเด็กที่มีการส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆ ในขณะเดียวกันโรงเรียนยังพบปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยทั้งขาดและเกิน ขาด คือภาวะที่ร่างกายของเด็กได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย หากเด็กขาดสารอาหาร จะส่งผลทำให้การเจริญเติบโตชะงักและมีสติปัญญาต่ำ หรือหากได้รับอาหารมากเกินไป จำทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังในอนาคต ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง ในการดูแลสุขภาพของเด็กในการรับประทานอาหารที่ถูกต้องมีประโยชน์รวมถึงสัดส่วนอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
โรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลพงบูโล๊ะประจำปีการศึกษา ๒๕6๘ ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก แม่ครัว และผู้ปกครองเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพนักเรียนทั้งที่บ้านและโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคน มีสุขภาพดี มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยทั้ง 4 ด้าน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์เจริญเติบโตเหมาะสมกับวัย

 

0.00
2 ๒ . เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

 

0.00
3 ๓. เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์เติบโตอย่างมีคุณภาพ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 67
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายโครงการ (ขนาด 1×3 เมตร จำนวน 1 ผืน)                เป็นเงิน   900   บาท
  2. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ

- ค่าจัดทำแผ่นพับ                                                                                      เป็นเงิน   ๓00   บาท
- ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าปริ้นรูป เป็นเงิน   ๓00   บาท     3. ค่าวิทยากร  ๑ วัน
- จำนวน ๑ วัน วันละ 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 500 บาท)          เป็นเงิน   2,๕๐๐    บาท            4. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
            (ผู้ปกครองจำนวน 60 คน  จำนวนบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 7 คน) - จำนวน  ๖7 คน คนละ ๗๕  บาท  จำนวน ๑ มื้อ            เป็นเงิน   5,02๕   บาท
5.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
( ผู้ปกครองจำนวน 60 คน จำนวนนักเรียน 60 คน จำนวนบุคลากรในสถานศึกษา    จำนวน 7 คน )      - จำนวน  1๒7 คน คนละ 3๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ                    เป็นเงิน  ๘,890   บาท6.  เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตัล
     - เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตัล    จำนวน 2 เครื่อง             เป็นเงิน   ๑,๕๐0   บาท 7.  ที่วัดส่วนสูงแบบไม้แบบมีฐานรอง     
- ที่วัดส่วนสูงแบบไม้มีฐานรอง     จำนวน  ๑ ชุด           เป็นเงิน  1,5๐0   บาท           8. ค่าอุปกรณ์การทำอาหาร (หม้อ/ชามผสมสเตนเลส  ขนาด ๕๐ ซม.)                 - จำนวน ๕  ชุด (ชิ้นละ  ๕๕๐ บาท)                               เป็นเงิน  2,๗๕0   บาท     ๙. ค่าผ้ากันเปื้อนสำหรับเด็ก   จำนวน ๑๐ ผืนๆ ๘๐ บาท                  เป็นเงิน      ๘๐๐   บาท     ๑๐. ค่าผ้ากันเปื้อนสำหรับผู้ใหญ่  จำนวน  ๑๐ ผืนๆ ๑๒๐ บาท       เป็นเงิน   ๑,๒๐๐   บาท     ๑๑ .ค่าวัสดุอุปกรณ์                  - กระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน จำนวน ๖๐ ใบ  (ชิ้นละ๘๐ บาท)             เป็นเงิน  ๔,๘00   บาท                  - สมุดโน๊ต  จำนวน  ๖๐ เล่มๆ ละ  ๑๐ บาท                          เป็นเงิน     ๖๐๐   บาท                  - ปากกา  จำนวน  ๖๐ ด้ามๆ ละ ๑๐ บาท                              เป็นเงิน      ๖๐๐   บาท 12. ค่าวัตถุดิบสาธิตวิธีการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
      -  เมนูแกงจืดเต้าหู้ไก่สับ                                                     เป็นเงิน   ๒,350    บาท       - ขนมลูกชุบ                                  เป็นเงิน   ๒,150    บาท 13. ค่าอาหารเช้านักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำ       - อาหารมื้อเช้านักเรียน จำนวน 36 วัน        (มีนักเรียนจำนวน 20 คน : ต่อ 1 วัน)        (คนละ 26 บาท × 20 คน = 520 บาท)              เป็นเงิน   18,720  บาท รวมทั้งสิ้น   54,885   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54885.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,885.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก แม่ครัว เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจหลักโภชนาการ และสามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกวิธี ถูกต้องตามหลักโภชนาการและสุขอนามัยที่ดี
2.นักเรียนมีสุขภาพดี มีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย


>