กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รู้เร็ว ช่วยทัน ป้องกันภัยสุขภาพ รพ.สต.เกาะนางคำ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

รพ.สต.เกาะนางคำ

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) เพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างมีประสิทธิภาพ กระแสปฏิรูประบบสุขภาพของไทยในปัจจุบัน ที่เน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุก และการสร้างเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาวะสามารถดูแลสุขภาพตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหรือโรคที่สามารถป้องกันได้ ให้เกิดเป็นสังคมบ่มเพาะจิตสำนึกการมีสุขภาพดีการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจากโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือด และหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุ และการจมน้ำ ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือบางรายอาจมีสภาวะการหยุดหายใจกะทันหัน ถ้าหากนานเกิน ๔ นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร การได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้องและมีการส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บต่อไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลอย่างเหมาะสมรวดเร็วและถูกวิธี จะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ มีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะนางคำ ได้เห็นความจำเป็นและความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ
รู้เร็ว ช่วยทัน ป้องกันภัยสุขภาพ รพ.สต.เกาะนางคำ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
เกาะนางคำ ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนมีทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพสามารถนำประโยชน์ไปใช้ช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนสามารถขยายผลเป็นผู้นำในการให้ความรู้ด้านสุขภาพสู่ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และ ชุมชนได้อย่างถูกต้องและสามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัว และชุมชน ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความเข้าใจเรื่อง การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED)”

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ได้ถูกต้องร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์การทดสอบรายบุคคลการช่วยชีวิตพื้นฐาน (BLS) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ร้อยละ ๘๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 62
กลุ่มวัยทำงาน 132
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชี้แจงโครงการแก่ อสม. ทั้ง 86 คน จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงโครงการแก่ อสม. ทั้ง 86 คน จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ส่วนบุคคล การจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพและอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ส่วนบุคคล การจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพและอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 62 คน ๆ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,860 บาท รวมเป็นเงิน 3,060 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3060.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ส่วนบุคคล การจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพและอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ส่วนบุคคล การจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพและอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 132 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 7,920 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 132 คน ๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 6,600 บาท รวมเป็นเงิน 16,920 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,980.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล การจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85
2. กลุ่มเป้าหมายตระหนักรู้และเข้าใจ ในการมีส่วนร่วมในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (AED)
3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือบุคคลใกล้ตัวได้อย่างถูกวิธีก่อนถึงโรงพยาบาล
4. สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาล


>