2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ในปัจจุบันปัญหาขยะในชุมชน ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร และพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นเมืองส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์พาหะนำโรคที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามมาในภายหลัง การคัดแยะขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนเละลดปัญหาขยะที่ตกค้างในชุมชน ทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน รวมไปถึงการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดใช้พลังงาน และลดมลพิษที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้าง จึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท เพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก(ถังขยะเปียก) ขยะอันตรายนำเข้าสู่ระบบการกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล ส่วนขยะรีไซเคิลนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่หรือนำไปจำหน่าย ส่วนขยะทั่วไปนำไปทิ้งหรือกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต่อไป
ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีจำนวน 5 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด 3,163 คนมีครัวเรือน773 ครัวเรือน(ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ เมษายน 2567) ปริมาณขยะจำนวน 86 ตัน/เดือน ประกอบกับตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 มาตรา 67 (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล(3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (18) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย จึงได้ดำเนินโครงการชุมชนร่วมใจในการจัดการขยะ ตำบลดาโต๊ะเพืิ่อสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะที่ต้นทางภายใต้หลักการ 3Rs คือ ใช้น้อยลง ใช้ซํ้า นำกลับมาใช้ใหม่ และรณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนในทุกพื้นที่มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ และคัดแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และป้องกันการเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์พาหะนำโรค
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง
2. ประชาชน สามารถคัดแยกขยะมูลฝอยได้อย่างถูกวิธี