2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ตามแนวทางของสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำให้ตรวจหาค่าฮีโมโกลบินหรือฮีมาโตคริตที่อายุ 6 เดือน – 1 ปี เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่พบภาวะซีดได้บ่อยที่สุด หากค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 11 กรัม/เดซิลิตร หรือฮีมาโตคริตน้อยกว่า 33% แปลว่ามีภาวะซีด
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านใน ด้วยจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 1 ปี เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบท โดยทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือได้คัดกรองภาวะโลหิตจาง พบร้อยละภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6 เดือน - 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 20.37 สาเหตุของภาวะซีดที่พบได้บ่อยสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี ได้แก่ ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะซีดที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก ส่วนสาเหตุที่พบได้รองลงมา คือ โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโลหิตจางทางพันธุกรรม พบได้บ่อยในประเทศไทยเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ซีดได้อีก เช่น โรคมะเร็ง และโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็กและเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหารธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียนและอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ ได้ตระหนักถึงความสำคัญเพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการส่งเสริมโภชนาการที่ดีและได้รับการคัดกรองภาวะซีดและรักษาต่อไป จึงได้จัดฝึกอบรมเชิงโครงการขับเคลื่อน การส่งเสริมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก 6 เดือน – 1 ปี ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นมา
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. กลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 6 เดือน – 1 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง
2. กลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 6 เดือน – 1 ปี ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง
3. ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการตามวัยที่มีธาตุเหล็กสูงแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี