แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา รหัส กปท. L3068
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัญหากลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการตายมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยอัตราตายมารดาลดลงจาก 374.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปี พ.ศ.2505 เป็น 23.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปีพ.ศ.2557 แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ที่กำหนดไว้เท่ากับ 18 ต่อการมีชีพแสนคน สำหรับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ยังเป็นปัญหาและยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 7 และจากผลการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.3 และ 98.7 ซึ่งเกินกว่าค่าที่กระทรวงกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85
จังหวัดปัตตานียังมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญและส่งผลกระทบ โดยพบว่าปัญหามารดาและทารกเสียชีวิตยังมีอัตราที่สูงกว่าในพื้นที่อื่นๆ และสูงกว่าค่าเป้าหมายต่างประเทศ ปัญหาเด็กมี IQ ต่ำ ข้อมูลการสำรวจ IQ เฉลี่ยของเด็กในจังหวัดปัตตานี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 88.32 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในประเทศด้านโภชนาการเด็ก 0-5 ปี อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว การกระจายอาหาร และความสามารถในการเข้าถึงอาหาร ส่งผลให้เด็กมีความเจริญที่ไม่สมส่วน โดยพบ เด็กเตี้ยร้อยละ 17.50 เด็กผอมร้อยละ 7.16 เนื่องจากขาดสารอาหารเรื้อรังปัญหาทันตสุขภาพ จังหวัดปัตตานีได้มีการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับจังหวัดมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ในกลุ่มที่เป็นตัวแทนของเด็ก 0-5 ปี คือ เด็กอายุ 18 เดือน และเด็ก 3 ปี ซึ่งมีแนวโน้มปราศจากโรคฟันน้ำนมผุเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัดแต่ยังต่ำอยู่ เมื่อเทียบกับระดับประเทศ (เด็ก 3 ขวบ ปราศจากฟันผุร้อยละ 50.6) ปัญหากลุ่มโรคติดต่อในเด็กที่เกิดจากไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ เช่น ไอกรน คอตีบ เป็นต้น สาเหตุของผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของวัคซีน ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยังมีความรู้ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและความเชื่อที่ผิดๆ เช่น วัคซีนไม่ฮาลาล ฉีดวัคซีนแล้วทำให้เด็กเป็นไข้ เป็นต้น ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน DTP-HB3/OPV3 ร้อยละ 75.72 ได้รับวัคซีน MMR1 1 ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 80.20 วัคซีน IPV ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 67.78 วัคซีน DTP-HB4/OPV4 ร้อยละ 71.22 วัคซีน JE2 ร้อยละ 73.39 วัคซีน JE3 ร้อยละ 60.47 วัคซีน MMR2 ในเด็กอายุครบ 3ปี ร้อยละ 72.28 วัคซีน DTP5/OPV5 ร้อยละ 62.76
จากข้อมูลดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กปัตตานีโดยได้กำหนดนโยบาย Pattani smart kids เพื่อให้เด็กปัตตานีสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย รูปร่างสมส่วน ฟันดี ไม่มีภาวะซีด
จากข้อมูลการปฏิบัติงาน 5 กิจกรรมในเด็กอายุ 0- 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา ปีงบประมาณ 2567พบว่า เด็ก 0-5 ปี อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน ของเด็กอายุครบ 1 ปีที่ได้รับวัคซีน DTPHB คิดเป็นร้อยละ 53.06 MMR1 คิดเป็นร้อยละ 83.67 ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 2 ปี ที่ได้รับวัคซีน DTP4 OPV4 คิดเป็นร้อยละ 69.01 JE1 คิดเป็นร้อยละ 63.38 ความครอบคลุมของเด็กครบ 3 ปี ที่ได้รับวัคซีน JE2 คิดเป็นร้อยละ 33.33 MMR2 คิดเป็นร้อยละ 87.67 ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 5 ปี ที่ได้รับวัคซีน DTP5 OPV5 คิดเป็นร้อยละ 70.83 จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนในแต่ละช่วงอายุด้านโภชนาการมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 88.69มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 98.92 และเด็กอายุ 3-5 ปี ยังมีฟันผุ ร้อยละ 60.54 ด้านภาวะซีดในเด็ก0-5ปี ร้อยละ 35.4
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า ผลการปฏิบัติงานทั้ง 4 กิจกรรมในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา ยังเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง
-
1. เพื่อให้เด็ก Smart kids ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด มีภาวะโภชนาการส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย ฟันไม่ผุ และไม่มีภาวะซีด เด็ก Smart kids ผ่าน ครบทั้ง 5 ด้าน (วัคซีนครบ พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ ไม่มีภาวะซีด) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60ตัวชี้วัด : เด็ก Smart kids ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด มีภาวะโภชนาการส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย ฟันไม่ผุ และไม่มีภาวะซีด เด็ก Smart kids ผ่าน ครบทั้ง 5 ด้าน (วัคซีนครบ พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ ไม่มีภาวะซีด)ไม่น้อยกว่าร้อย ละ 60ขนาดปัญหา เป้าหมาย 60.00
-
2. เพื่ออบรมผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและตระหนักในการดูแล เด็กกลุ่มเป้าหมาย Smart kids ผู้ปกครองมีความรู้เรื่อง ความเข้าใจ ในการดูแลเด็ก Smart kids ร้อยละ 60ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและตระหนักในการดูแล เด็กกลุ่มเป้าหมาย Smart kids ผู้ปกครองมีความรู้เรื่อง ความเข้าใจ ในการดูแลเด็ก Smart kids ร้อยละ 60ขนาดปัญหา เป้าหมาย 60.00
- 1. ดำเนินกิจกรรมประชุมชี้แจงอสม. เรื่องเด็ก smart kids มีสุขภาพดีรูปร่างดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย วัคซีนครบ ฟันดี ไม่มีภาวะซีดรายละเอียด
-ค่าวัสดุป้ายไวนิล ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร จำนวน 1 ผืน อัตราผืนละ 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 38 คน เป็นเงิน 2,660 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 38 คน เป็นเงิน 2,850 บาท -ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
รวมเป็นเงิน 8,060 บาทงบประมาณ 8,060.00 บาท - 2. กิจกรรมประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการเรื่องวัคซีน โภชนาการในเด็กการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และเรื่องภาวะซีดกับผู้ปกครอง จำนวน 50 คนรายละเอียด
-สาธิตการตรวจพัฒนาการตามช่วงวัยพร้อมกับให้ผู้ปกครองสาธิตย้อนกลับ -เจาะ HCT พร้อมกับให้ความรู้เรื่องภาวะซีด -การใช้กราฟแสดงภาวการณ์เจริญเติบโต สำหรับเด็ก 0-5 ปี ตามคู่มือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
วัสดุอุปกรณ์ - ค่าเตียงวัดความยาวเด็ก ราคา 2,500 บาท จำนวน 1 อัน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักเด็กแบบดิจิตอล ราคา 2,500 บาท จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,750 บาทงบประมาณ 14,050.00 บาท - 3. กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลานที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบ ลงมือปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คนรายละเอียด
- ค่าป้ายไวนิลแบบขาตั้ง (role up) ขนาด80×200 เซนติเมตร ราคา 1,800 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าชุดแปรงสีฟันและยาสีฟัน ชุดละ 40 บาท จำนวน 50ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,750 บาท รวมเป็นเงิน 12,850 บาท
งบประมาณ 12,850.00 บาท - 4. กิจกรรมวัคซีนแลกไข่ปีที่ 2 กรณีที่เด็กมารับบริการฉีดวัคซีนครอบคลุมจนถึงอายุ 5 ปี ตามเกณฑ์อายุที่กำหนดรายละเอียด
-ค่าไข่ในการจัดกิจกรรมวัคซีนแลกไข่ จำนวน 40 แผง แผงละ 120 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท รวมเป็นเงิน 4,800 บาท
งบประมาณ 4,800.00 บาท - 5. จัดเวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้ปกครอง เด็ก smart kidsรายละเอียด
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,750 บาท -ค่าวัสดุในการดำเนินกิจกรรมโครงการเป็นเงิน 2,375 บาท -กระดาษสร้างแบบจำนวน 20 แผ่น แผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 100 บาท -ปากกาเคมีจำนวน 10 ด้าม ด้ามละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท -เทปสี จำนวน 3 ม้วน ม้วนละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท -แฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 40 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท -สมุดบันทึก จำนวน 40 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท -ปากกาลูกลื่น จำนวน 40 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 400 บาท
งบประมาณ 9,625.00 บาท - 6. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานรายละเอียด
-
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ตำบลบางตาวา อำดภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
รวมงบประมาณโครงการ 49,385.00 บาท
- เด็กกลุ่มเป้าหมาย Smart kids มีสุขภาพดีรูปร่างดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย วัคซีนครบ ฟันดี ไม่มีภาวะซีด 2.ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ การรับวัคซีน โภชนาการและการดูแลสุขภาพฟัน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา รหัส กปท. L3068
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา รหัส กปท. L3068
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................