2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร สภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทำให้มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต ทำให้ปัญหาสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมมีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อมากได้มี การพัฒนาการป้องกันที่ดีขึ้น การป่วยด้วยโรคติดต่อก็ลดลงเปลี่ยนมาเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ในภาวะปัจจุบันมีการพัฒนาด้านต่างๆ การดำรงชีวิตประจำวัน มีการเร่งรีบ มีการแข่งขันในการทำงาน ส่งผลถึงการบริโภค ก็เกิดความเปลี่ยนแปลง ไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการ ร่างกายจึงขาดความสมดุลของสารอาหาร เช่น เกิดภาวะอ้วน โอกาสเกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดเกิดตีบแคบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ยิ่งขาดการออกกำลังกาย อายุมากขึ้นหรือมีความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน หากเปรียบเทียบระหว่างครอบครัว ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน กับครอบครัวที่สมาชิกไม่เป็นโรคย่อมมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด สมาชิกในครอบครัวที่ไม่เป็นโรคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง สามารถทำงานทำรายได้มาสู่ครอบครัว ทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ส่งผลให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ตรงกันข้ามกับครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ทำให้ครอบครัวสูญเสียแรงงาน สูญเสียรายได้ และยังเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพร่างกาย ทำให้เศรษฐกิจของครอบครัวมีรายได้น้อย
สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 5 หมู่บ้าน มีประชากรกลุ่ม อายุ ๓5 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,๐๕๑ ราย พบว่าเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 23 ราย เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 100 ราย ส่วนสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ ม.4 ต.ดาโต๊ะ มีประชากรกลุ่ม อายุ ๓5 ปี ขึ้นไป จำนวน ๒๐๖ ราย พบว่าเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 4 ราย เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 11 ราย เป็นทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 9 ราย ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมีประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังไม่ทราบว่าตนเองหรือบุคคลในครอบครัวมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทำให้ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ดังนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญว่าสื่อรณรงค์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถสร้างกระแสในการดูแลสุขภาพเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้ประชาชนดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?กลุ่มเป้าหมายอายุ ๓5 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดัน และเบาหวาน