2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) เพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างมีประสิทธิภาพ กระแสปฏิรูประบบสุขภาพของไทยในปัจจุบัน ที่เน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุก และการสร้างเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาวะสามารถดูแลสุขภาพตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหรือโรคที่สามารถป้องกันได้ ให้เกิดเป็นสังคมบ่มเพาะจิตสำนึกการมีสุขภาพดีการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจากโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือด และหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุ และการจมน้ำ ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือบางรายอาจมีสภาวะการหยุดหายใจกะทันหัน ถ้าหากนานเกิน ๔ นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร การได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้องและมีการส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บต่อไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลอย่างเหมาะสมรวดเร็วและถูกวิธี จะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ มีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาสุขภาพและการสาธารณสุขได้เปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทั้งนี้สาเหตุของปัญหามาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของบุคคลตลอดจนปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ทั้งร่างกาย และสังคมสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 ถึงพ.ศ. 2580) เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ การสนับสนุนกิจกรรมสุขภาวะและสร้างเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการดูแลตนเอง ครอบครัว และสังคมสุขภาพวางอยู่บนฐานเรื่องสุขภาวะทั้งมิติทางกาย ทางใจ ทางสังคมและทางปัญญา (จิตวิญญาณ) สุขภาพแนวใหม่มุ่งสู่การเพิ่มสมรรถนะ (capability) ของบุคคล ชุมชน และสังคม ในการควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ นอกจากนี้ปัจจุบันการสร้างเสริมสุขภาพไม่เป็นเพียงระบบสุขภาพทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพสู่เป้าหมายในภาพรวมในการพัฒนาระบบสุขภาพซึ่งเป็นเรื่องความร่วมมือกันของสังคม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาลได้เห็นความจำเป็นและความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(BLS) ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ปี 2568 เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) และให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนมีทักษะ เจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ สามารถนำประโยชน์ไปใช้ช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนสามารถขยายผลเป็นผู้นำในการให้ความรู้ด้านสุขภาพสู่ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้องต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 13/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความเข้าใจการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งมีทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) ได้อย่างถูกต้อง
2. เกิดกลุ่มผู้นำด้านสุขภาพภาคประชาชนในการให้ความรู้ ทักษะ สามารถนำประโยชน์ไปใช้ช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉิน
3. ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินต่างๆ