กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุห่างไกลปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านนอก

1 นายถาวร ชฎารัตน์
2 นายถวิล ยอดนวล
3 นายไสว ชุมคง
4 นาย เสงียน ถาวรสุข
5 นายเจริญ ประทุมเทศ

ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักประสบปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากความเสื่อมของร่างกาย การทำกิจกรรมซ้ำ ๆ หรือการขาดการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี อาการเหล่านี้ส่งผลให้ความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม
เพื่อให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการคัดกรองโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างเป็นระบบ เพื่อประเมินสภาพร่างกายและวางแผนการดูแลอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเรียนรู้การทำน้ำมันเหลืองสำหรับนวดบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ยังเป็นการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ช่วยลดการพึ่งพายาแผนปัจจุบันและเสริมสร้างความภาคภูมิใจในการดูแลสุขภาพ
โครงการนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อคัดกรองโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ พร้อมทั้งให้ความรู้และฝึกทักษะการทำน้ำมันเหลืองสำหรับนวดบรรเทาอาการปวดเมื่อย เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคปวดเมื่อย 2. ลดอาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการครบทั้ง 40 คน ผู้สูงอายุสามารถลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีและสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการผู้สูงอายุห่างไกลปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ชื่อกิจกรรม
โครงการผู้สูงอายุห่างไกลปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  2. กิจกรรม ฝึกปฏิบัติการทำน้ำมันเหลือง

งบประมาณ
ป้ายโครงการ1x2เมตร = 500บาท ค่าวิทยากร5 ชั่วโมง ๆ ละ 500 บาท= 2,500 บาท ค่าอาหารกลางวัน....50...บ.x..40 คน=2,000 บาท ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม....25..บ.x 2มื้อ …40 คน
= 2,000 บาท ค่าเครื่องเสียง=1,200 บาท รวม 8,200. บาท

ค่าวัสดุใช้ในกิจกรรม Hard paraffine 500 g 125 บาท วาสลิน 220 g150 บาท น้ำมันระกำ700 g900 บาท การบูร300 g180 บาท เมนทอล 400 g600 บาท น้ำมันสะระแหน่ 40 g150บาท น้ำมันไพล1000 g435 บาท ยูคาลิปตัส110 g360 บาท ขวดขนาด 24 ml40 ใบ 200 บาท รวม3,100 บาท

รวมทั้งหมด11,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคปวดเมื่อย 2. ลดอาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการครบทั้ง 40 คน ผู้สูงอายุสามารถลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีและสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
2. ผู้สูงอายุ มีสุขภาพดี ลดการปวดเมื่อยเรื้อรัง


>