กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลกะลุวอเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยมาตรการ 5ป. 1ข. 3ก. ในพื้นที่หมู่ 1 - 13 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ณ ห้องประชุมธรรมาภิบาล เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ และก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากมีเขตที่ตั้งอยู่ในโซนร้อนชื้น และมีภูมิประเทศเหมาะต่อการขยายพันธุ์ของยุงลาย และมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ว่าในแต่ละปีจะพบผู้ติดเชื้อไวรัสแดงกี่ จำนวน 50-100 ล้านราย และเสียชีวิตประมาณ 11,000 ราย ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มอาเซียนที่ประสบกับปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกเช่นกัน โดยจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2567 (ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง Digital 506 กรมควบคุมโรค) ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome: DSS) สะสมรวม 104,674 รายอัตราป่วย 161.26 ต่อประชาการแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 85 ราย สำหรับพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วย 14,247 ราย รายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 11 ราย (จังหวัดยะลา 4 ราย, สงขลา 3 ราย, ปัตตานี 2 ราย, พัทลุง 1 รายและนราธิวาส 1 ราย) คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.077 จังหวัดที่พบอัตราป่วยสุงสุด คือ จังหวัด พัทลุง 419.11 ต่อประชากรแสนคน (2,182 ราย) ส่วนจังหวัดนราธิวาส พบอัตราป่วย 261.11 ต่อประชากรแสนคน (2,108 ราย) จำแนกรายอำเภอของจังหวัดนริวาส ที่พบอัตราป่วยสุงสุดคือคือ อำเภอเจาะไอร้อง อัตราป่วย 742 ต่อประชากรแสนคน ส่วนอำเภอเมืองนราธิวาส พบอัตราป่วย 290.39ต่อประชากรแสนคน และจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดของจังหวัดนราธิวาส คือ อำเภอเมืองนราธิวาส พบจำนวนผู้ป่วย 368 ราย ตำบลกะลุวอเหนือเป็นตำบลหนึ่งของเขตอำเภอเมืองนราธิวาส ซึ่งเป็นเขตอำเภอที่พบจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบล กะลุวอเหนือที่ผ่านมาปีงบประมาณ 2567 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 พบว่าประชาชนในพื้นที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 46 ราย พบมาที่สุด หมู่ที่ 4 บ้านเขาตันหยง จำนวน 14 ราย รองลงมา หมู่ที่ 2 จำนวน 7 ราย หมู่ที่ 1 จำนวน 6 ราย หมู่ที่ 10 จำนวน 5 ราย หมู่ที่ 8 จำนวน 4 ราย หมู่ที่ 11 จำนวน 3 ราย หมู่ที่ 5,6,7 จำนวน 2 ราย และหมู่ที่ 3 จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 246.14 ต่อประชากรแสนประชากร (ประชากรทั้งหมด 18,681 คน) (เกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ อัตราป่วยทั้งปี ไม่ควรเกิน 50 ต่อประชากรแสนคน) จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกข้างต้นนั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน สร้างผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจการประกอบอาชีพของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายทางภาครัฐด้านการรักษาพยาบาลส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากมายต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศตามลำดับ
การควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรคการหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ มาตรการที่หนึ่ง คือ การสื่อสารความเสี่ยงโดยการให้สุขศึกษาและรณรงค์สร้างความตระหนักแก่ประชาชนและตามพื้นที่สำคัญต่างๆ มาตรการที่สอง คือ มาตรการเฝ้าระวัง เช่น การเฝ้าระวังค่าดัชนีลูกน้ำ โดยการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ในพื้นที่สำคัญ การเฝ้าระวังยุงตัวเต็มวัยโดยการพ่นหมอกควันตามสถานที่ พื้นที่ที่มีความเสี่ยง และช่วงก่อนการระบาด และมาตรการที่สาม คือ มาตรการควบคุมโรคโดยการควบคุมโรคตามมาตรการ 331 และดำเนินการต่อเนื่อง การเตรียมความพร้อมของทีมควบคุมโรคและทรัพยากร ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงมีการจัดโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนัก และมีความรอบรู้ทางสุขภาพประเด็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  1. ประชาชนมีความรู้ทางสุขภาพ และมีความพึงพอใจต่อมาตรการควบคุมป้องกันโรค เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย
0.00
2 2. เพื่อควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และยุงตัวเต็มวัยที่เป็นพาหะนะของโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราการพบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=o) และยุงตัวเต็มวัยที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกมีความชุกลดลง
0.00
3 3. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. มีการควบคุมโรคตามมาตรการ331 และพบหมู่บ้านที่มีการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกภายใน 28 วัน (Second generation) ลดลง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลกะลุวอเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลกะลุวอเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2568
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ สุขศึกษา และรณรงค์ การป้องกันโรคไข้เลือดออก
1.1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยมาตรการ 5ป. 1ข. 3ก. 13 หมู่บ้านค่าใช้จ่ายรวม 17,750 บาท
- ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 1.2 มx2.5 มxตารางเมตร 250 บาท x 13 ป้าย
เป็นเงิน 9,750บาท - ค่าป้ายโฟมบอร์ด จำนวน 8 ป้ายๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท 1.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ค่าใช้จ่ายรวม 49,050 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 ม x 2.5 ตารางเมตร 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 130 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 9,100 บาท - ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม 130 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาทเป็นเงิน 9,100 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์อบรม (กระเป๋าผ้า สมุด ปากกา) จำนวน 130 ชุดๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 14,300 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดอบรม เช่น ปากกาเคมี ป้ายอะครีลิค คลิปบอร์ด ฯลฯ เป็นเงิน700 บาท 1.3 กิจกรรมรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลาย ค่าใช้จ่ายรวม 91,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 13 หมู่บ้านๆ ละ 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 35 บาท
เป็นเงิน 13,650 บาท
- ค่าถุงขยะดำ ขนาด 24x28 นิ้ว 25 แพ็คๆละ 70 บาท เป็นเงิน 1,750บาท - ค่าถุงมือยาง จำนวน 25 กล่องๆละ 250 บาท เป็นเงิน 6,250บาท - ค่าสารเคมีทรายอะเบทกำจัดยุง จำนวน 14 ถังๆละ 5,000 บาท เป็นเงิน 70,000 บาท - ค่าไฟฉาย LED จำนวน 13 กระบอกๆละ 350 บาท เป็นเงิน 4,550บาท กิจกรรมที่ 2 การควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 331 (สำหรับการลงพื้นที่ควบคุมโรคบ้านผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง)ค่าใช้จ่ายรวม 42,000 บาท 2.1 ค่าสเปรย์ฉีดกำจัดยุงตัวเต็มวัยสำหรับบ้านผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ขนาด 600 มิลลิลิตร) จำนวน 200 ขวด ขวดละ 140 บาท เป็นเงิน 28,000 บาท 2.2 ค่ายาทากันยุงชนิดสำหรับบ้านผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ขนาด 60 มิลลิลิตร) จำนวน 200 ขวด ขวดละ 70 บาทเป็นเงิน 14,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 200,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนมีความตระหนัก และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
3. สามารถลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก


>