กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาร้านชำร้านอาหาร/แผงลอย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ

ชุมชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การมีสุขภาพดีของประชาชนเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตและการพัฒนาประเทศ การส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐต้องให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้ประชาชนและหน่วยงานมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ เน้นให้คนไทยได้บริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และช่วยแก้ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรตามกลุ่มอายุให้ลดลงได้ โดยการดำเนินงานภายใต้นโยบายเมืองไทยแข็งแรง ให้เกิดตั้งแต่ระดับพื้นที่จากหมู่บ้าน ตำบล จนถึงอำเภอ และจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดภาพภาพการพัฒนาที่ชัดเจนนำไปสู่การบรรลุเมืองไทยแข็งแรง โดยครอบคลุมถึงการรณรงค์ความปลอดภัยด้านอาหาร (FOOD SAFETY)เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการอาหารในชุมชน เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ความปลอดภัยของผู้บริโภค

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเรื่องอาหารปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมเรื่องอาหารปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาหารในชุมชน มี ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตาดีกา และผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร การตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน
๖ ชนิด งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาทจำนวน 70 คน 3,500 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 70คน เป็นเงิน 3,500 บาท 3.ค่าวิทยากร 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 4.ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย เป็นเงิน ุ600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 20 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด และผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบการในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิดและจำหน่ายอาหารปลอดภัย
2.ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่และจำหน่ายอาหารปลอดภัยได้มาตรฐาน


>