กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านบ้านควนโต๊ะเหลง

1.นางอรทัย ฮะยีบิลัง
2. นางสาเดี๊ยะตาเดอิน
3. นางออละวรรณ์หวังกุหลำ
4. นางปรีดาแกสมาน
5. นางสาวกฤษณาโซ๊ะสม

อบต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบในหลายด้าน ถือเป็นภัยเงียบระดับชาติและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข กลุ่มโรคดังกล่าวนี้มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 63 และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึงร้อยละ 80 ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลก
ถึงร้อยละ 10 และสูงกว่าทุกประเทศในโลก การดำเนินการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในปัจจุบัน ได้มีหลากหลายแนวคิดการดำเนินการ เช่น แนวทางการปฏิบัติงานตามองค์การอนามัยโลก แนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขตามคู่มือการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใช้หลัก 3อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์
จากการคัดกรองการบริโภคหวาน มัน เค็ม ในครัวเรือน พบว่าประชากร หมู่ที่ 4 ตำบลควนโดน มีจำนวน 1,215 คน เป็นเพศชาย 601 คน เพศหญิง 614 คน กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองจำนวน 328 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มากกว่า 15 เปอร์เซ็น กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวนมากกว่า 20 เปอร์เซ็น ในแต่ละครัวเรือนเน้นการปรุงอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพแก่ประชาชนและการออกกำลังกาย
จากความสำคัญข้างต้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน บ้านควนโต๊ะเหลง ในฐานะตัวแทนของกลุ่มวัยทำงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหา ควบคุม หรือส่งเสริมดำรงคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี และการปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน และคนในชุมชน ให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัย” เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ตามหลักโภชนการ

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดหวาน มัน เค็ม ของประชาชน

ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ได้ร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
วิธีดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อวางแผนในการดำเนินโครงการฯ

  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

  3. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบอย่างทั่วถึง

  4. ประสานวิทยากรเพื่อให้การอบรม

  5. ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้และกิจกรรมต่าง ๆ
    5.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และความรู้ความเข้าใจในการออกกำลัง กายให้ถูกต้อง

- สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำอาหารเพื่อสุขภาพ (แบ่งกลุ่มปฏิบัติ) 5.2 กิจกรรมนันทนาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

  1. ประเมินความพึงพอใจ

  2. สรุปผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้

  2. ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

  3. ประชาชนมีการออกกำลังกาย ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และความรู้ความเข้าใจในการ ออกกำลังกายให้ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และความรู้ความเข้าใจในการ ออกกำลังกายให้ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชม. ๆ ละ 600.-บาท             เป็นเงิน 3,000.-บาท          1.2 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70.-บาท x จำนวน 50 คน            เป็นเงิน 3,500.-บาท          1.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30.-บาท x จำนวน 50 คน จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000.-บาท          1.4 ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 * 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืน ตารางเมตรละ 150.-บาท    เป็นเงิน    375.-บาท          1.5 ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 40.-บาท       เป็นเงิน  1,600.-บาท          1.6 ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม   เป็นเงิน  3,230.-บาท  แยกเป็น               (1)  แฟ้มพลาสติก  จำนวน 50 แฟ้ม ๆ ละ 20.-บาท   เป็นเงิน  1,000.-บาท               (2)  ปากกา  50  ด้าน ๆ ละ 10 บาท    เป็นเงิน  500.-บาท               (3)  กระดาษ A4  จำนวน 2 รีม ๆ ละ 135.-บาท เป็นเงิน 270.-บาท               (4)  กระดาษปรู๊ฟ  จำนวน 20 แผ่น ๆ ละ 5.-บาท   เป็นเงิน 100.-บาท         (5)  ปากกาเคมี  จำนวน 2 โหล ๆ ละ 180.-บาท  เป็นเงิน 360.-บาท          1.7 วัตถุดิบสาธิตการทำอาหารที่ดีต่อสุขภาพ  จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 500.-บาท   เป็นเงิน 4,000.-บาท          1.8 ชุดเครื่องวัดความเค็มในอาหาร  จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 500.-บาท      เป็นเงิน   500.-บาท          1.9 ชุดเครื่องวัดความหวานแบบมือถือ จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 800.-บาท            เป็นเงิน   800.-บาท          1.10 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในสาธิตและฝึกปฏิบัติทำอาหารเพื่อสุขภาพ)  เป็นเงิน  4,995.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้
    1. ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    2. ประชาชนมีการออกกำลังกาย ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมนันทนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมนันทนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้      2. ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง      3. ประชาชนมีการออกกำลังกาย ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้
2. ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
3. ประชาชนมีการออกกำลังกาย ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น


>