กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านบางขวน ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

รพ.สต.บ้านบางขวน

หมู่ที่ 6 บ้านบางขวนและหมู่ที่ 8 บ้านแหลมไก่ผู้ ตำบลฝาละมีอำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

37.17
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

26.46

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก38ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ68ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก)ในปีพ.ศ. 2555 เป็น 41 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2559 ซึ่งในแต่ละปีพบผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ในกลุ่มอายุ 30-69 ปีหรือเรียกว่า “การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร”มากถึง 15 ล้านคน โดยร้อยละ 85 เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางโดยปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรงสถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น ภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับ ไขมันในเลือดสูง และระดับความดันโลหิตสูง นำไปสู่การเกิดโรคถ้าหากไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการปัจจัยเสี่ยงและควบคุมสภาวะโรคอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวนทั้งหมด 31,560 คน โดยควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 31.37ในส่วนของอำเภอปากพะยูน มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวนทั้งหมด 2,926 คน โดยควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 29.43และตำบลฝาละมี พบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 4,250คน ที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 1,615 คนได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 1,521 คนคิดเป็น ร้อยละ 94.18เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.94 ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 87 คนคิดเป็นร้อยละ 49.15สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,396 คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,305 คนคิดเป็นร้อยละ 93.48เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 7.32ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 322 คน คิดเป็นร้อยละ 79.51

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานลดลง

37.17 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงลดลง

26.46 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 800
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ อสม. ทบทวนความรู้แนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ อสม. ทบทวนความรู้แนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจง และฝึกทบทวนความรู้ ทักษะปฏิบัติแก่ อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.เข้าร่วมประชุมชี้โครงการและได้รับการทบทวนความรู้และทักษะปฏิบัติในการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 44 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านเครือข่าย อสม. หอกระจายข่าวหมู่บ้าน และเวทีประชุมของหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านเครือข่าย อสม. หอกระจายข่าวหมู่บ้าน และเวทีประชุมของหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ผ่าน อสม. หอกระจายข่าวหมู่บ้าน  และเวทีประชุมของหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับทราบข้อมูลในการดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 800 ชุด ๆ ละ 1 บาทเป็นเงิน 800 บาท
2.ค่าจัดซื้อเครื่องตรวจระดับน้ำตาล จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
3.ค่าจัดซื้อแถบตรวจระดับตาลในเลือดจำนวน 8 กล่อง(100ชิ้น/กล่อง)ราคากล่องละ 1,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
4. เครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 4 เครื่องละ 2,500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต(Output)

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้รับการติดตามค่าระดับน้ำตาล ร้อยละ 80

2.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต ร้อยละ 80

ผลลัพธ์(Outcome)

  1. อัตราผู้ป่วยรายใหม่ลดลงมากกว่าร้อยละ 5
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการติดตาม และส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางปฏิบัติ
3.ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่และภาวะแทรกซ้อนอันตราย


>