2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะเด็ก อายุ 0-5 ปี ซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว ทั้งร่างกายและสติปัญญา เด็กวัยนี้ เป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อมากกว่าวัยอื่นๆเนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ดี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลสุขภาพของเด็กวัยนี้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียง จะทำให้เด็กมีโภชนาการที่ดี สุขภาพดีตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน เด็กอายุ 0-5 ปี จะต้องได้รับการประเมินภาวะโภชนาการให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 70 จากผลการดำเนินงานประเมินภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาปีงบประมาณ 2567 พบเด็กที่มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 62.33 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าว เนื่องจากผู้ปกครองเด็กขาดความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม เพราะฉะนั้นการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กจำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก และประกอบกับนโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยยึดถือการได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิด ตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข
ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการครอบคลุมระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไป เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากที่สุด จากการสำรวจข้อมูลและผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2568 ปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิด( fully immunization ) คิดเป็นอัตราร้อยละ 50.79 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 58.62 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 50.00 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 37.28จากเกณฑ์มาตราฐานของกระทรวงสาธารณสุขอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์จะต้องได้รับร้อยละ 90 ซึ่งจากผลการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็กในพื้นที่น้อยกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่จะสามารถป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประชาชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ ความตระหนัก เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรค
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาได้จัดทำโครงการส่งเสริมเด็กสุขภาพดี เติบโตตามวัย ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 02/06/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโภชนาการและโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
2.ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถเลือกจัดเมนูอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามวัยได้
3.เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ70 หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 5
4.จำนวนเด็กที่ขาดการรับวัคซีนตามเกณฑ์ ได้รับการฉีดวัคซีน ร้อยละ 90
5.จำนวนเด็กที่ขาดการรับวัคซีนตามเกณฑ์ ได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 5