2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2540 ระบุว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน มีหน้าที่หลักในการ พัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ รวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรมอันดี สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข นักเรียนในโรงเรียนอาจมีโอกาสสัมผัสโรคหรือแพร่เชื้อได้สูง เป้าหมายการพัฒนาดำเนินงานอนามัยโรงเรียนยังให้ความสำคัญกับเด็กที่มาอยู่รวมกันในสถานศึกษา ให้สามารถพัฒนาตนเองใน ทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ ร่างกาย และการปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ และสิ่งแวดล้อมใหม่ มีสิทธิ์ในการได้รับการบริการด้านสุขภาพเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีกับครอบครัว บุคคลใกล้เคียงตลอดจนป้องกันไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียน และดูแลตนเองได้เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
การดูแลสุขภาพร่างกายนับเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก และดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง เพื่อการมีสุขภาพที่ดี แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยกลับมีปัญหาด้านสุขภาพร่างกายเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กไทยในวันนี้น่าห่วง เพราะต้องเผชิญปัญหาอ้วน เตี้ย ผอม ส่งผลให้เรียนรู้ช้าภูมิต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เด็กที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ จากการสำรวจปัญหาด้านสุขภาพเลือด เป็นต้น สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในด้านการจัดกิจกรรมออกกำลังกายของนักเรียนที่ผ่านมา โรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับนักเรียนตอนเย็นก่อนเลิกเรียน แต่ยังขาดความต่อเนื่อง และยังได้ไม่ครบ 60 นาทีต่อวัน ครูไม่ได้บูรณาการด้านการออกกำลังกายในการจัดการเรียนการสอนในสาระต่างๆเท่าที่ควร เนื่องจากให้ความสำคัญกับด้านการเรียนมากกว่าการทำกิจกรรม ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมีบทบาทในการจัดกิจกรรมด้านการออกกำลังกายให้กับนักเรียนค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีปัญหาด้านเวลาและบุคลากรไม่เพียงพอ แต่มีวิทยากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอยู่เป็นระยะๆตามความสามารถของวิทยากร การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็ก ได้ขยับร่างกาย เล่นกีฬา เพื่อลดปัญหาเด็กอ้วนนั้น โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้และค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายของนักเรียน โดยการนำกิจกรรมที่มีความหลากหลายและมีความดึงดูดใจผู้เรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด การจัดหาอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอสำหรับการส่งเสริมการออกกำลังกายของนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ออกกำลัง วันละ 60 นาที รวมถึงการสร้างครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ และประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ
ทางงานอนามัยโรงเรียนซึ่งมีหน้าที่เฝ้าระวังการเกิดปัญหาสุขภาพของผู้เรียน จึงได้กำหนดกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การให้ความรู้ การตรวจสุขภาพ การดูแลภาวะโภชนาการ การออกกำลังกายที่ช่วยเบิร์นแคลอรี่ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายที่สมบูรณ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป
ดังนั้น จากเหตุผลความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนบ้านท่าเนียนจึงจัดทำส่งเสริมสุขภาพนักเรียน "เล่นกีฬาวันละ 1ชั่วโมง เบิร์นแคลอรี่" ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 11/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
1. ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนได้รับความรู้จากการอบรมจากวิทยากร เรื่อง“เด็กไทยยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ เล่นกีฬาวันละ 1 ชั่วโมง เบิร์นแคลอรี่”
2. ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนสามารถนำความรู้ในการรักษาสุขภาพและทักษะในการออกกำลังกายที่สามารถเบิร์นแคลอรี่ไปเผยแพร่ให้กับบุคคลในครอบครัวได้
3. ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนทุกคน ได้ออกกำลังกับอุปกรณ์กีฬาที่มีความแข็งแรง ทนทานและได้มาตรฐาน ลดปัญหาการได้รับการบาดเจ็บจากอุปกรณ์ที่ชำรุด
4. ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนทุกคน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?