กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ตำบลตันหยงดาลอ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงดาลอ

1.นายอาหามะสะนิ
2.นางสาวอาซีซะห์ทองปาน
3.นางยารอดะห์ มะแซ
4.นาฮาซันมูซอ
5.นางลีเยาะมณีรัมย์

ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

25.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

25.00
3 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567

 

10.00
4 ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567

 

10.00

ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค NCDs สูงกว่า 62,138 ล้านบาท ในปี 2560 และมีคนไทยต้องเสียชีวิตจากโรค NCDs ปีละกว่า 400,000 ราย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายแก้ไขปัญหา โดยผลักดันการส่งเสริม สุขภาพและแนวคิดวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีไปสู่การปฏิบัติ NCDs สนับสนุนแนวคิดสุขภาพดี สิทธิประโยชน์เพิ่ม รวมถึงส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs เพื่อลดอัตราการป่วยก่อนเข้าสู่ระบบการรักษาเนื่องจากคนในชุมชน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง – โรคเบาหวาน เพื่อมาให้ความรู้แก่คนในชุมชน และได้ตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCD ขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ถึงภัยเงียบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดขึ้นจากโรคใด ไม่แพร่เชื้อจากคนสู่คน แต่ก็เกิดจากนิสัยและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภค การไม่ออกกำลังกาย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นภัยเงียบ เมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ก็ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จนเป็นเรื้อรังของโรคอีกด้วย เพื่อการป้องกันไม่ให้โรคเป็นเรื้อรังเพิ่มขึ้น จึงได้ตั้งศูนย์ NCD ขึ้น เพื่อให้ความรู้ในกลุ่มโรค NCDS ประกอบด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ เป็นประชากรที่มีคุณภาพของชุมชนอำเภอยะหริ่งมีคนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease : NCDs) เช่น เบาหวาน
ความดันสูง โรคไตเรื้อรัง เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น กินอาหารหวานจัด เค็มจัด ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ นอนดึก มีความเครียดสูง เป็นต้น ทำให้เกิดความสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงถึงปีละ 1.6 ล้านล้านบาท จากค่ารักษาพยาบาลทางตรงและความสูญเสียทางอ้อม เพื่อให้คนไทยห่างไกลโรคติดต่อไม่เรื้อรัง(NCDs) โดยมีการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงการเจ็บป่วยในผู้ป่วยรายเก่า และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

25.00 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

25.00 30.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีปีงบประมาณ 2568

10.00 15.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี  ปีงบประมาณ 2568

10.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู ข (อสม. และเจ้าหน้าที่) 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/06/2025

กำหนดเสร็จ 15/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจงกำหนดรูปแบบและหาแนวทางในการจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจงกำหนดรูปแบบและหาแนวทางในการจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจงกำหนดรูปแบบและหาแนวทางในการจัดกิจกรรม
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน มื้อ ๆ ละ 25 บาทจำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 750 บาท
- ค่าสมุดคู่มือประจำตัว ศุนย์คนไทยห่างไกล NCDs จำนวน 80 เล่มๆละ 50 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2568 ถึง 15 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รูปแบบและแนวทางการจัดกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 2 kick off ศูนย์คนไทยห่างไกลNCDs

ชื่อกิจกรรม
kick off ศูนย์คนไทยห่างไกลNCDs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และให้ความรู้เรื่อง NCDs
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 1,250 บาท
- เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตัลแบบวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย 1 เครื่อง เป็นเงิน 4,000 บาท
- โมเดลอาหาร 1 ชุด เป็นเงิน 6,000 บาท
- ไวนิลประชาสัมพันธ์พร้อมขาตั้ง 2 ชุดๆละ 1,200 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2568 ถึง 15 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs อย่างมีคุณภาพและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง -กลุ่มเป้าหมายรับรู้สถานะสุขภาพของตนเองเบื้องต้นและสามารถเข้าถึงบริการใกล้บ้านใกล้ใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มโรคเรื้อรัง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 1,500 บาท
- อาหารกลางวัน 30 คน ๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน ช.ม.ๆละ 600 บาท จำนวน 6 ชม.เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์อาหารสาธิต เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2568 ถึง 15 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อย่างเข้าใจ และใส่ใจตัวเองมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8900.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินและติดตามกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและติดตามกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเสี่ยง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2568 ถึง 15 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการรายงานผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,550.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถจ่ายถั่วเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ที่มีคุณภาพ
2.กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง


>