กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมมือป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

นายซาฮาบ เจ๊ะนิ

หมู่บ้านใหม่ หมู่ที่ 6 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อนำโดยแมลง นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
จากการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง พบว่ามีผู้ป่วยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกซึ่งข้อมูลสถานการณ์โรคติดต่อโดยแมลงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ย้อนหลัง3ปีที่ผ่านมาดังนี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม– ธันวาคม 2565 พบว่าประชาชนในพื้นที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มีจำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 714.28 ต่อแสนประชากร ( เป้าหมายต้องไม่เกิน 400 ต่อแสนประชากร ) และป่วยด้วยโรคมาลาเรีย มีจำนวน 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0 ต่อแสนประชากร ตั้งแต่ 1 มกราคม – ธันวาคม 2566 ไม่พบหรือไม่มีประชาชนในพื้นที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและป่วยด้วยโรคมาลาเรีย และตั้งแต่ 1 มกราคม – ธันวาคม 2567 พบว่าประชาชนในพื้นที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีจำนวน 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2,142.86 ต่อแสนประชากร ( เป้าหมายต้องไม่เกิน 400 ต่อแสนประชากร ) และไม่พบหรือไม่มีป่วยด้วยโรคมาลาเรียจากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการที่เรามีมาตรการในการควบคุมโรคได้ดี แต่ยังไม่ครอบคลุมอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและวิธีปฏิบัติต้นให้กับประชาชนในการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงขึ้นในปี 2568 เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคติดต่อนำโดยแมลง และเป็นการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อนำโดยแมลง พร้อมทั้งการค้นหาโรคโดยการคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้การควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้การควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

7.1 กิจกรรมจัดตั้งทีมพ่นยุงและฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการพ่นสารเคมีจำนวน 3 คน
( 1 หมู่บ้าน )         - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3 คน X 30 บาท X 2 มื้อ      เป็นเงิน       180  บาท                      - ค่าอาหารกลางวัน 3 คน X 60 บาท X 1 มื้อ                                   เป็นเงิน    180 บาท                      - ค่าวิทยากร 5 ชม. X 600 บาท                                                     เป็นเงิน   3,000 บาท     7.2 กิจกรรมให้ความรู้การควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน X 30 บาท X 2 มื้อ                 เป็นเงิน 3,600 บาท
              - ค่าอาหารกลางวัน            จำนวน 60 คน X 60 บาท X 1 มื้อ            เป็นเงิน 3,600  บาท
        - ค่าวิทยากร 5 ชม. X 300 บาท                                   เป็นเงิน 1,500  บาท                     - ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร X 250 บาท                       เป็นเงิน    720  บาท     7.3 กิจกรรมรณรงค์การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง                     - ค่าตอบแทน 3 คน X 200 บาท X 4 ครั้ง                                          เป็นเงิน  2,400 บาท         - ค่าอาหารน้ำมันเบนซิน  40 ลิตร X 40 บาท                         เป็นเงิน  1,600  บาท         - ค่าน้ำมันดีเซล            73 ลิตร  X 35 บาท                               เป็นเงิน    2,555  บาท         - ค่าทรายอะเบท  จำนวน 1 ถัง                        เป็นเงิน   3,500 บาท
        - ค่าสเปรย์ไล่ยุง ขนาด 600 มล 3 กระป๋องๆ 120 บ               เป็นเงิน   360  บาท
รวมเงินทั้งสิ้น 23,195บาท (เงินสองหมื่นสามพันหนึ่งร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน) หมายเหตุ  ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

8.1 สามารถควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้อย่างต่อเนื่องและทันเวลา 8.2 อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลงในเขตรับผิดชอบลดลง 8.3 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อนำโดยแมลง และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่อนำโดยแมลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23195.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,195.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>