แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาคอบน
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาคอบน
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ มีความรุนแรงและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ไข้เลือดอกสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ทุกภูมิภาคของประเทศไทย การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวของชุมชนเมือง และการคมนาคมที่สะดวกขึ้น ทําให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 ตุลาคม 2567 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 88,133 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 1,709 ราย) อัตราป่วย 133.09 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่า ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 1.90 เท่า และมากกว่า ค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (ปี พ.ศ. 2562–2566) ส่วนจังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 2,164 ราย เสียชีวิต 2 รายโดยอำเภอมายอพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 84 ราย (1 มกราคม – 12 พฤศจิกายน 2567) ในจำนวนนี้พบผู้ป่วยในตำบลสาคอบนจำนวน 17 ราย ตำบลสาคอใต้ 4 ราย จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าปี 2567 มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลสาคออย่างต่อเนื่อง ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ โดยมีการระบาดมากในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2 บ้านม่วงหวาน หมู่ที่ 1 บ้านบาตะกูโบ และหมู่ที่ 1 บ้านฆูลี ตามลำดับ
องค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการควบคุมและระงับโรคติดต่อ จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคให้รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสาคอบนและสาคอใต้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/03/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?