กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

รพ.สต.บ้านลำสินธุ์

หน่วยงานราชการ

รพ.สต.บ้านลำสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการเตรียมการรองรับหรือการวางแผนที่ดี จะนำมาสู่การเกิดปัญหาหรือวิกฤติในการดูแลผู้สูงอายุ จากผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินและคัดกรองสุขภาพ จากการคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ จำนวน 350 คนในปี 2568 มีผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 61.45 ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 38.55 ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพที่ผู้สูงอายุทำได้น้อยที่สุด 3 ลำดับ ได้แก่ 1)การมีกิจกรรมทางกาย 2)การกินผักและผลไม้ โรคที่พบมากที่สุดในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ ได้แก่ 1)ความดันโลหิตสูง 2)เบาหวาน 3)หลอดเลือดหัวใจและ4)โรคหลอดเลือดสมองและสาเหตุการตายสูงที่สุดในผู้สูงอายุ คือโรคระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งประเด็นการดูแลผู้สูงอายุมีเป้าหมายในการลดภาวะพึ่งพิง จากการคัดกรองภาวะถดถอยในผู้สูงอายุ 9 ด้าน ในปี 2568 ได้ดำเนินการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1)การเคลื่อนไหว ปัญหาข้อเข่า ได้รับคัดกรองร้อยละ 67.73 พบผิดปกติ ร้อยละ 5.59 2)สุขภาพช่องปาก ได้รับการคัดกรองร้อยละ 67.99 พบผิดปกติ ร้อยละ 6.37
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุในทุกระดับ ให้บรรลุเป้าหมาย “ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง ดำรงชีวิตประจำวันได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นพลังทางสังคม” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ ได้จัดทำ “โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568” เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ ส่งเสริมให้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี และมีสุขภาวะ ได้รับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่เป็นอยู่ ลดการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในชุมชน และสังคมต่อไป
และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ คือผู้ที่มีภูมิความรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา สมควรส่งเสริมให้เป็นทรัพยากรที่เข้มแข็งและมีคุณค่า ให้ยาวนานที่สุด โดยนำจุดแข็งนี้มาสร้างโอกาสในการพัฒนาสังคม กิจกรรมที่เป็นประโยชน์นี้จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึก มีความสุขได้บริหารกาย จิต สังคม เป็นบุคคลที่พัฒนาไปตามกาลสมัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงพึ่งตนเองได้ และสามารถเป็นพลังให้การพึ่งพาแก่ชุมชนและสังคม จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ขาดโอกาส ขาดพื้นที่ในสังคม ขาดงบประมาณ และช่องทางในการเผยแพร่ภูมิปัญญา ทำให้สังคมเข้าไม่ถึงความรู้ที่มีคุณค่าในขณะที่ผู้เป็นภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติ บ้านเมือง นำศักยภาพ ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุมาใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม กรมกิจการผู้สูงอายุ เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้สูงอายุจึงได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนให้ คลังปัญญาผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่นเพื่อสืบสาน ภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน และยังเป็นโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นำคลังปัญญา มาใช้ประโยชน์ ความสุขใจแก่ผู้สูงอายุในการเป็นต้นแบบให้กับเด็ก เยาวชน จึงเป็นการสร้างความสุขและคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ อีกทั้งยังสนับสนุนให้ผู้สูงอายุร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ โดยมีผู้สูงอายุให้ความรู้ที่หลากหลายที่เอื้อประโยชน์ ต่อกระบวนการเรียนรู้และธำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชุมชน อีกทั้งยังสนับสนุนให้ผู้สูงอายุร่วมเป็นพลัง ขับเคลื่อนสังคมด้วยภูมิปัญญา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดกรอง 9 ด้านในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการคัดกรอง 9 ด้านในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 7 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง 9 ด้านไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการพอกเข่าด้วยสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการพอกเข่าด้วยสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การพอกเข่าด้วยสมุนไพร

กิจกรรมที่ 2   กิจกรรมการพอกเข่าด้วยสมุนไพร

ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการพอกเข่า เช่น ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร เป็นต้น  จำนวนเงิน 3,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2568 ถึง 25 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

2.ผู้สูงอายุได้รับองค์ความรู้ในการพอกข้อเข่าด้วยสมุนไพร และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมบูรณาการในผู้สูงอายุและแกนนำชมรมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมบูรณาการในผู้สูงอายุและแกนนำชมรมผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3   กิจกรรมอบรมบูรณาการในผู้สูงอายุและแกนนำชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 1 วัน  ค่าใช้จ่ายดังนี้

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 70 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท                 เป็นเงิน 3,500 บาท

  2. ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 70 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70  บาท                        เป็นเงิน 4,900บาท

  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2568 ถึง 4 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.ผู้สูงอายุและแกนนำผู้สูงอายุ มีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมฝึกการออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง การยืดเยียด เช่นท่ารำไม้พลอง, ท่าฤาษีดัดตน ฯลฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกการออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง การยืดเยียด เช่นท่ารำไม้พลอง, ท่าฤาษีดัดตน ฯลฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4     กิจกรรมฝึกการออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง การยืดเยียด เช่นท่ารำไม้พลอง, ท่าฤาษีดัดตน ฯลฯ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 70 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท                 เป็นเงิน 3,500 บาท

  2. ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 70 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70  บาท                        เป็นเงิน 4,900บาท

  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆละ 600  บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มิถุนายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม 2.ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ทราบปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>