2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สังคมไทยเป็นสังคมสูงอายุ ซึ่งสัดส่วนประชากรสูงอายุเทียบกับประชากรทังหมดเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว การเตรียม การรองรับโดยให้เกิดการดูแลโดยชุมชนเพื่อชุมชนเป็นกลยุทธ์ที่สําคัญ แต่ปัจจุบันยังขาดข้อมูลรูปแบบกิจกรรมที่พึงประสงค์สําหรับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มและต้นทุนที่ชุมชนควรลงทุน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทีเหมาะสมในชุมชน สําหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 (พึ่งตนเองได้) คือ จัดให้เข้าร่วมกิจกรรมสังคมอย่างต่อเนื่องในรูปของชมรมผู้สูงอายุ สําหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่ 3 (ดูแลตนเองได้บ้าง) คือ จัดการดูแลเยี่ยมบ้านเพื่อช่วยเหลือกิจวัตรบางอย่างโดยมีเป้าหมายให้ ผู้สูงอายุสุขภาพดีดูแลตัวเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป้าหมายรอง (SUBGOAL)คือ“สุขเพียงพอชะลอชราชีวิตยืนยาว” โดยมี6 ประเด็นที่ต้องการดำเนินการ ได้แก่การเคลื่อนไหว โภชนาการสิ่งแวดล้อม สุขภาพช่องปากสมองดีและมีความสุขจากนั้นก็มีการกำหนดวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดกลยุทธ์ ในการดำเนินงานและโครงการให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงนโยบายรัฐบาลและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายหลักของ ผู้สูงอายุประกอบด้วย สถานการณ์กรอบการดำเนินงาน ภายใต้แนวคิด“สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว”
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 กำหนดหน้าที่
ของเทศบาลไว้ว่า “ให้มีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชนผู้สูงอายุและผู้พิการและตามภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549”ได้กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการสงเคราะห์และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะที่เป็นส่วนราชการที่มุ่งให้มีการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เหมาะสมและจัดสวัสดิการให้ผู้สูงอายุได้รับอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมให้การส่งเสริมช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของผู้สูงอายุประกอบกับนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนนวัตกรรมการสเริมสร้างสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมพื้นบ้านซึ่งเทศบาลตำบลลำสินธุ์ได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพโดยชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ขึ้นเพื่อให้เกิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุและให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีคุณค่าต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน สามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?