กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กรุ่นใหม่ รู้ทันภัยห่างไกลยาเสพติด ตาดีกาบ้านโคกศิลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) บ้านโคกศิลา

1.นายมาหามะรอยานี ดารอมือลี 0930092048
2.นางสาวซาวาณี เจะดาโอะ
3.นางสาวอาอิซะห์ หะมะ
4.นางสาวซูรัยดา บาโอะ
5.นางสาวไอเซาะ ยีระเสะ

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตาดีกาบ้านโคกศิลา หมู่ 6 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กนักเรียนที่มีความเสี่ยงเข้าใกล้ยาเสพติดมากขึ้น

 

80.00

ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติด มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงจากเดิมที่ผู้เสพส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงของวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่ปัจจุบันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของผู้เสพที่อยู่ในวัยนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จึงเห็นได้ว่าปัญหาของยาเสพติดได้มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น และหนักเป็นทวีคูณ มีจำนวนผู้เสี่ยงที่มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูงและการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้นเด็กจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้การถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษภัยที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผลึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งการเรียนรู้ และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีต่างๆมากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาต่่างๆมากยิ่งขึ้น ทางโรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน ส่งเสริมการป้องกันและการหลีกเลี่ยงห่างไกลยาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการเด็กรุ่นใหม่ รู้ทันภัยห่างไกลยาเสพติดตาดีกาบ้านโคกศิลา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

เด็กนักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด รวมถึงทัศนคติที่ดีต่อสุขภาพ

60.00 80.00
2 เพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนตระหนักสนใจร่วมมือห่างไกลยาเสพติด

เด็กนักเรียนมีจิตสำนึกร่วมกันป้องกันภัยยาเสพติด

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม: กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่อง โทษของยาเสพติด ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เเละการป้องกันผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ งบประมาณ:
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 2.ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมง ชั่งโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท 3.สมุดปกอ่อน ขนาด 6 แกรมจำนวน80เล่ม เล่มละ5บาทเป็นเงิน400 บาท 4.ดินสอจำนวน 80แท่ง เเท่งละ5 บาทเป็นเงิน400บาท 5.ค่าป้ายไวนิล 1x3เมตร เมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 80 คน
ผลผลิต:มีนักเรียนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) บ้านโคกศิลา เข้าร่วมโครงการทั้งหมด80คน ผลลัพธ์:เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด :
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด โดยเเบ่ง จำนวน 10 กลุ่มๆละ8คน
งบประมาณ: 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 2.ค่าวิทยากร จำนวน1คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่งโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 3.กระดาษบรู๊ฟ 20 แผ่น แผ่นละ 5 บาทเป็นเงิน 100 บาท 4.ปากกาเคมี (สีแดง,สีน้ำเงิน) จำนวน20 ด้าม ด้ามละ 15บาท เป็นเงิน 300 บาท 5.สีไม้ 12 สี 10 กล่อง กล่องละ 45 บาท เป็นเงิน 450 บา

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 80 คน
ผลลัพธ์: 1.เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด รวมไปถึงวิธีการป้องกัน 2.เพื่อให้เด็กนักเรียนทราบถึงผลกระทบต่อบุคคลและสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนสามารถป้องกันตนเองไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.เด็กนักเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและเกิดทักษะทางความคิดห่างไกลยาเสพติด
3.เด็กนักเรียนได้รับรู้และเข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติด


>