2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (Extend Family) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะ ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึง ทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับ ปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งถูก ก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิก ในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิต แบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น มีสารชีวเคมีและ ฮอร์โมนลดลง การสูญเสีย สิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิตเพราะตายจาก การสูญเสียบุตรเพราะแยกไป มีครอบครัว การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพหรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญ เสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุและหากผู้สูง อายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความ รู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจ ที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สถานการณ์ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 9 บ้านนาปริก ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ประจำปี 2568 มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งหมด 65 คน ชาย 31 คน หญิง 34 คน ไม่มีผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง (ที่มา:กองสวัสดิการสังคม อบต.ควนโดน ณ วันที่ 24 มีนาคม 2568) ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน 48 ราย ชาย 8 ราย หญิง 40 ราย ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 21 ราย โรคเบาหวานจำนวน 19 ราย ป่วยเป็นโรคหอบหืดจำนวน 5 ราย ป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 1 ราย ป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรังจำนวน 1 ราย และป่วยเป็นโรคเนื้องอกจำนวน 1 ราย (ที่มา:JHCIS รพ.สต.ควนโดน ณ วันที่ 24 มีนาคม 2568)จากข้อมูลสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุบ้านปริก จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 9 บ้านนาปริกตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความผาสุกแก่ผู้สูงอายุบ้านนาปริก ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม ตามกรอบการบูรณาการการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตในผู้สูงอายุ 3s ประกอบด้วย Social Participation ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน Social Security ส่งเสริมความมั่นคงความปลอดภัย Strong Health ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม ให้แก่ผู้สูงอายุ ต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 24/03/2025
กำหนดเสร็จ 31/07/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้สูงอายุมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
2.สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและรู้ตัวว่าตัวเองมีคุณค่า