กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคเรื้องรัง (NCD) บ้านกำแพง ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.2 บ้านกำแพง

1.นางสวาท หลีเหล็ม
2.นางเอื้อมทิพม์ แซ่ว่อง
3.นางเรียมคงสุวรรณ
4.นางพยอมสะแต
5.นางเอียม คงเพชร

หมู่ที่ 2 บ้านกำแพง ต.กะลุวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

11.83

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากผลการการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านกำแพงและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ ปี 2567 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 155 คนคิดเป็นร้อยละ 91.17 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 15 คิดเป็นร้อยละ 9.67 และประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวานจำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 90 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 11 คนคิดเป็นร้อยละ 7.18 นอกจากนี้กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ปี 2567 และจากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบนั่น คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.2 บ้านกำแพง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคเรื้อรัง (NCD) ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

11.83 90.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เพื่อสร้างแกนนำตรวจคัดกรองะโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

14.20 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชนบ้านกำแพง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชนบ้านกำแพง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในชุมชน ม.2 บ้านกำแพง

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน100 คนx 25 บาท× 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน ร้อยละ 90 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน ม2 บ้านกำแพง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน ม2 บ้านกำแพง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานตรวจวัดความดันโลหิต เจาะปลายนิ้วตรวจหาน้ำตาล ในชุมชน ม2 บ้านกำแพง - ค่าวัสดุ/ครุภัณฑ์ ในการจัดกิจกรรม

1.เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท 2.เครื่องชั่ง น้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,500 บาท 3. เครื่องเจาะน้ำตาล (DTX) จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 4.สายวัดรอบเอว BMI (ดัชนีมวลกาย) จำนวน 2 ตลับๆละ 150 เป็นเงิน 300 บาท รวมเป็นเงิน 9,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อและเข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,800.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน
2. อสม. มีความรู้ในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน อย่างถูกต้องและสามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนและการรักษาได้อย่างเหมาะสม


>