2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งกินอาหารไม่เหมาะสม และขาดการออกกำลังกาย กระทรวงสาธารณสุข จึงใช้กลไก อสม. ที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในพื้นที่ เป็นผู้ส่งต่อความรู้ ความเข้าใจในการปรับพฤติกรรมการกินไปสู่ประชาชน โดยสอนให้เข้าใจถึงการคิดคำนวณพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน และกินอาหารแบบนับคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต ที่มาจากกลุ่มข้าว แป้งและน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย ไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการ ส่วนที่เหลือให้เพิ่มเติมด้วยกลุ่มโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ถั่ว และไขมันดี หรือยึดหลักง่ายๆ ว่า “โปรตีนอย่าให้ขาด คาร์บอย่าให้เกิน เพิ่มเติมด้วยไขมันดี”ส่งเสริมการออกกำลังกาย และสนับสนุนให้เกิดมาตการชุมชน เกิดการจัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกลโรคNCDsในชุมชน
จากสถานการณ์การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปีขึ้นไป ในหมู่บ้านหมู่ 4 บ้านสนกลาง ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 จำนวนประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 252 คน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงฯ 237 คน คิดเป็นร้อยละ 94.04 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 17.85 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 0 คน พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 0 คน และ กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 20.23 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 4.36 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงใหม่ 0 คน
ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านสนกลาง จึงจัดโครงการอสม.ชวนนับคาร์บ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) บ้านสนกลาง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบนับคาร์บ ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ลดการเกิดผู้ป่วย NCDs รายใหม่
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.เพื่อให้มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
3.เพื่อลดอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มปกติ
2. มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
3. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง