แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน รหัส กปท. L5294
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นายอภิชาติ ปัจฉิมศิริ ผอ.รพ.สต.บ้านวังตง
น.ส.ยุวรี แกสมาน จพ.ทันตสาธารณสุขชำนาญงาน
ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจ พบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย นอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ และด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีความทันสมัยทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงวัยเรียนเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้นต้องมีแรงจูงใจหรือการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งแรงจูงใจนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม มาตรการของครูในโรงเรียนร่วมด้วย จากการสำรวจ สังเกต สอบถามคุณครูและเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตงจำนวน 4 แห่ง พบว่า เด็กนักเรียนไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนเป็นประจำทุกวัน บางโรงเรียนไม่มีสถานที่แปรงฟันของเด็กนักเรียน และบางโรงเรียนยังพบว่ามีการจำหน่ายอาหารที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุ นอกจากนี้จากการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี 2567 ของนักเรียนประถมศึกษาพบว่านักเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทั้งหมด 445 คน มีฟันแท้ผุจำนวน 102 คนคิดเป็นร้อยละ 22.92 เหงือกอักเสบจำนวน 180 คนคิดเป็นร้อยละ 40.44 จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมทันตสุขภาพ ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตงได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาเขตตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนอย่างจริงจังตามบริบทและวิถีการดําเนินชีวิตในพื้นที่และเพื่อให้เด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก สามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธี ตลอดจนปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในด้านสุขภาพช่องปาก
-
1. 1. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 100 %ตัวชี้วัด : - นักเรียนชั้นประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 100 %ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนทุกคนมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตัวชี้วัด : - ร้อยละ 100 เด็กนักเรียนทุกคนมีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. 3. เพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา มีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ลดลงตัวชี้วัด : -ร้อยละ 70 ของเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา มีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ลดลงขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
4. 4. เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถเลือกรับประทานที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของช่องปากตัวชี้วัด : - ร้อยละ 60 เด็กนักเรียนสามารถเลือกรับประทานที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของช่องปากขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
5. 5. เพื่อผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถ แปรงฟันให้กับบุตรหลานได้อย่างถูกวิธีตัวชี้วัด : - ร้อยละ 90 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก และสามารถแปรงฟันให้กับบุตรหลานได้อย่างถูกวิธีขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. 1. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กให้กับผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คนรายละเอียด
- ค่าอาหารว่าง 25 บาท X 2 มื้อ X 20 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 1 มื้อ X 20 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าวิทยากร 2 คนๆละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าอุปกรณ์แปรงฟัน 25 บาท x 20 ชุด เป็นเงิน 500 บาท
งบประมาณ 4,800.00 บาท - 2. 2. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนบ้านวังตงจำนวน 100 คนรายละเอียด
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนบ้านวังตงจำนวน 100 คน โดยการแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 - ค่าอาหารว่าง 25 บาท X 1 มื้อ X 100 คน เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวิทยากร 2 คนๆละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าอุปกรณ์แปรงฟัน 25 บาท x 100 ชุด เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าวัสดุ/สื่อให้ความรู้การดูแลช่องปาก เป็นเงิน 1,000 บาท - สีย้อมฟัน เป็นเงิน 1,200 บาท
งบประมาณ 10,800.00 บาท - 3. 3. ติดตามค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านวังตงจำนวน 100 คนรายละเอียด
ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 แปรงฟันและย้อมสีฟันเพื่อตรวจหาคราบจุลินทรีย์
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ในเขต รพ.สต.บ้านวังตง
รวมงบประมาณโครงการ 15,600.00 บาท
1 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษามีสภาวะทันตสุขภาพที่ดีขึ้น 2 เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูวิธีและมีระดับดัชนีคราบจุลินทรีย์ลดลง 3 นักเรียนสามารถเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก 4 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและสามารถ แปรงฟันให้กับบุตรหลานได้อย่างถูกวิธี
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน รหัส กปท. L5294
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน รหัส กปท. L5294
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................