กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคเรื้องรัง (NCD) บ้านรอตันบาตู ปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคเรื้องรัง (NCD) บ้านรอตันบาตู ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.7 บ้านรอตันบาตู

1.นางสาวนูรีซัน ฮาแว
2.นายอุสมัน มะเซ็ง
3.นางอายูซะ มะมิง
4.นายสักรี หะยีและ
5.นางฮายียะ ดอแม

หมู่ที่ 7 บ้านรอตันบาตู ต.กะลุวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

8.80

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากผลการการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านรอตันบาตูโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ ปี 2567 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดัน จำนวน 275 คน คิดเป็นร้อยละ 91.36 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 27 คิดเป็นร้อยละ 9.81และประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวานจำนวน 277 คน คิดเป็นร้อยละ 92.02 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 4.33นอกจากนี้กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ปี 2567 จากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบนั่น คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.7 บ้านรอตันบาตู ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคเรื้องรัง (NCD) ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

8.80 90.00
2 2.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เพื่อสร้างแกนนำตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

12.68 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน ม 7 บ้านรอตันบาตู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน ม 7 บ้านรอตันบาตู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพื่อควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน ม 7 บ้านรอตันบาตู

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คนx 25 บาท× 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาทรวมเป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน ร้อยละ 90 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหืตสูงและเบาหวานในชุมชน ม 7 บ้านรอตันบาตู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหืตสูงและเบาหวานในชุมชน ม 7 บ้านรอตันบาตู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหืตสูงและเบาหวานตรวจวัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้วหาน้ำตาลในเลือด ในชุมชน ม 7 บ้านรอตันบาตู- ค่าวัสดุ/ครุภัณฑ์ ในการจัดกิจกรรม 1.เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท 2.เครื่องชั่ง น้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,500 บาท 3. เครื่องเจาะน้ำตาล (DTX) จำนวน 2 เครื่องๆละ2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 4. สายวัดรอบเอว BMI (ดัชนีมวลกาย) จำนวน 4 ตลับๆละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บท รวมเป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อและเข้าถึงการบริการอย่างรวดเร็ว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,100.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน
2. อสม. มีความรู้ในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน อย่างถูกต้องและสามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนและการรักษาได้อย่างเหมาะสม


>